โครงงานสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว
ฟาร์มต้นอ่อนทานตะวันอัจฉริยะ
(Smart Sunflower Farm Project)
บทคัดย่อ
การจัดทำโครงงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการสร้างระบบการรดน้ำอัตโนมัติโดยศึกษาคุณสมบัติสมองกลฝังตัว และเซนเซอร์วัดความชื้นในการสร้างระบบการรดน้ำให้สามารถทำงานได้อัตโนมัติ จากการสำรวจปัญหาที่พบในปัจจุบันยังมีการรดน้ำแบบทั่วไปยังไม่มีระบบใดๆ ในการช่วยรดน้ำจึงทำให้เป็นอุปสรรค์ให้แก่ชาวสวน อีกทั้งทำให้เสียผลผลิตทางการเกษตรและถ้าหากการรดน้ำแบบเก่าอาจทำให้ต้นอ่อนทานตะวันมีความเสียหาย ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงได้คิดค้นระบบการรดน้ำอัจฉริยะกับต้นอ่อนทานตะวัน และยังมีพัดลมระบายความชื้น เพื่อที่จะทำให้ต้นอ่อนทานตะวันไม่เกิดเชื้อรา ที่ทำให้เกิดผลเสียต่อผลผลิต พร้อมเซนเซอร์ตรวจวัดความชื้นในดินที่จะทำให้ระบบการรดน้ำ รดน้ำแบบอัตโนมัติเมื่อความชื้นในดินมีน้อย และเมื่อความชื้นในดินมีมากจะทำให้ระบบการรดน้ำปิดการทำงานและสั่งให้พัดลมเพื่อระบายอากาศ ซึ่งผู้จัดทำได้นำปัญหานี้มาพัฒนา ประยุกต์ใช้เพิ่มความสะดวกในการรดน้ำต้นไม้ต่างๆ
dav
ที่มาและความสำคัญ
ต้นอ่อนทานตะวัน เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่อุดมไปด้วยสารอาหารและกำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ในการปลูกต้นอ่อนทานตะวันนั้นสามารถปลูกได้ง่าย เจริญเติบโตได้ในระยะเวลาอันสั้น และยังมีต้นทุนที่ไม่สูงนัก แต่ปัญหาที่พบมาในการเพาะต้นอ่อนทานตะวันด้วยตนเอง คือปัญหาในด้านการดูแล การรดน้ำ การควบคุมปริมาณแสงและความชื้นที่เหมาะสม อีกทั้งเหตุที่อยู่นอกเหนือความคาดหมาย เช่น หากไปทำธุระนอกบ้านและจำเป็นต้องค้างคืน ๒-๓ วัน ก็อาจจะทำให้ต้นอ่อนทานตะวันเสียหายและต้องเสียเงินเพื่อชื้อของใหม่มาปลูก
ผู้จัดทำจึงได้ทำการออกแบบ ฟาร์มต้นอ่อนทานตะวันอัจฉริยะ เพื่อช่วยเพิ่มความสะดวกในการดูแลต้นอ่อนทานตะวันเมื่อเราไม่อยู่บ้าน หรือไม่มีเวลาดูแล โดยอาศัยการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์และสมองกลฝังตัว เพื่อควบคุมน้ำและความชื้นที่เหมาะกับต้นอ่อนทานตะวัน
วัตถุประสงค์
1.เพื่อสร้างแบบจำลองฟาร์มต้นอ่อนทานตะวันอัจฉริยะ
2. เพื่อสร้างระบบควบคุมระบบน้ำและความชื้นแบบจำลองฟาร์มต้นอ่อนทานตะวันอัจฉริยะ
3. เพื่อ ช่วยประหยัดเวลาในการลดน้ำต้นอ่อนทานตะวันอัจฉริยะ
4. เพื่อช่วยให้ต้นอ่อนทานตะวันมีสภาพที่ดีและเจริญเติบโตจนเป็นผลผลิต
วัสดุอุปกรณ์
1.ไมโครคอนโทรลเลอร์ (Arduino Uno R3)
2.เซนเซอร์วัดความชื้นในดิน (Soil Moisture Sensor)
3.Relay Module
4. พัดลมระบายอากาศ
5.ปั๊มน้ำตู้ปลา
ผังการต่อวงจร
CODE คำสั่งการทำงาน
int sensorPin = A0; int moisture = 0; int relay2 = 7; int relay3 = 8; int relay4 = 9; void setup() { Serial.begin(9600); pinMode(7, OUTPUT); pinMode(8, OUTPUT); pinMode(9,OUTPUT); } void loop() { int moisture = analogRead(sensorPin); Serial.print("soil Moisture = "); Serial.print(moisture); if (analogRead(sensorPin)>1000){ Serial.println("Sensor in AIR"); digitalWrite(7,LOW); digitalWrite(7,LOW); delay(1000); digitalWrite(8,LOW); digitalWrite(8,LOW); delay(1000); digitalWrite(9,LOW); digitalWrite(9,LOW); delay(1000); } if (analogRead(sensorPin)>850 && analogRead(sensorPin) <650){ Serial.println("Sensor in DRY"); digitalWrite(7,HIGH); digitalWrite(7,HIGH); delay(1000); digitalWrite(8,LOW); digitalWrite(8,LOW); delay(1000); digitalWrite(9,LOW); digitalWrite(9,LOW); delay(1000); } if (analogRead(sensorPin)>300 && analogRead(sensorPin) <550){ Serial.println("Sensor in HUMID"); digitalWrite(7,LOW); digitalWrite(7,LOW); delay(1000); digitalWrite(8,LOW); digitalWrite(8,LOW); delay(1000); digitalWrite(9,LOW); digitalWrite(9,HIGH); delay(1000); } if (analogRead(sensorPin)<300){ Serial.println("Sensor in WATER Working fan"); digitalWrite(7,HIGH); digitalWrite(7,HIGH); delay(1000); digitalWrite(8,LOW); digitalWrite(8,LOW); delay(1000); digitalWrite(9,LOW); digitalWrite(9,LOW); delay(1000); }
ภาพการทำงาน
คณะผู้จัดทำโครงงาน
1.นางสาวนัตถพร อุดมศิลาชัย
2.นายเจษฎา คนสอาด
3.เด็กหญิงอันนา ทานากะ
อาจารย์ที่ปรึกษา
นางสาวเบญจวรรณ สังวัง สอนวิชา คอมพิวเตอร์
นายศรัณย์ ทิพย์แปง สอนวิชา ฟิสิกส์
โทรศัพท์ 083-3427551 E-mail benjawun039@gmail.com
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 48 จังหวัดจันทบุรี
ที่อยู่ของโรงเรียน 130 หมู่10 ตำบลพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี