TH  |  EN

ศาสตราจารย์ ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นำนักวิจัยที่จะเดินทางไปปฏิบัติงาน และศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลก ณ ทวีปแอนตาร์กติก ประจำปี 2566 เข้าเฝ้าฯ เพื่อรับพระราชทานพรก่อนออกเดินทาง

ศาสตราจารย์ ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นำนักวิจัยที่จะเดินทางไปปฏิบัติงาน และศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลก ณ ทวีปแอนตาร์กติก ประจำปี 2566 เข้าเฝ้าฯ เพื่อรับพระราชทานพรก่อนออกเดินทาง https://youtu.be/LDWtUUsuR-o?si=HnRhM2KPDMaarqXP      วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2566 เวลา 15.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชวโรกาสให้ศาสตราจารย์ ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นำนักวิจัยที่จะเดินทางไปปฏิบัติงาน และศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลก ณ ทวีปแอนตาร์กติก ประจำปี 2566 เข้าเฝ้าฯ เพื่อรับพระราชทานพรก่อนออกเดินทาง      สืบเนื่องจากโครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีมีความร่วมมือในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับขั้วโลกด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเตรียมการรองรับสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก โดยมีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ของจีน (Chinese Arctic … Read more

ศาสตราจารย์ ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีนำคณะผู้แทนประเทศสมาชิกการประชุมเรื่องวิทยาศาสตร์ขั้วโลกของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย (Asian Forum for Polar Sciences: AFoPS) เข้าเฝ้าฯ เพื่อกราบบังคมทูลรายงานความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ขั้วโลกในอนาคต

ศาสตราจารย์ ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีนำคณะผู้แทนประเทศสมาชิกการประชุมเรื่องวิทยาศาสตร์ขั้วโลกของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย (Asian Forum for Polar Sciences: AFoPS)เข้าเฝ้าฯ เพื่อกราบบังคมทูลรายงานความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ขั้วโลกในอนาคต https://youtu.be/710XbTzCyXs      วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2566 เวลา 15.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชวโรกาสให้ศาสตราจารย์ ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นำคณะผู้แทนประเทศสมาชิกการประชุมเรื่องวิทยาศาสตร์ขั้วโลกของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย (Asian Forum for Polar Sciences: AFoPS) เข้าเฝ้าฯ เพื่อกราบบังคมทูลรายงานความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ขั้วโลกในอนาคต      สืบเนื่องจากโครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีมีความร่วมมือกับนานาชาติในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับขั้วโลกด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเตรียมการรองรับสภาวะ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก โดยประเทศไทยมีภาคีวิทยาศาสตร์ขั้วโลกประเทศไทย (Polar Science … Read more

กิจกรรม “คลินิคโครงงานและการนำเสนอผลงาน (ผ่านระบบออนไลน์)”

 กิจกรรม “คลินิคโครงงานและการนำเสนอผลงาน (ผ่านระบบออนไลน์)” มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จัดกิจกรรม “คลินิคโครงงานและการนำเสนอผลงาน (ผ่านระบบออนไลน์)” ภายใต้โครงการบ่มเพาะเยาวชนในชนบทเป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ด้านนวัตกรรมอาหาร ในวันที่ 8 และ 13 พฤศจิกายน 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการทำโครงงานของนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทุน ให้ความรู้เพิ่มเติมและให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการโครงงานทางวิทยาศาสตร์ด้านอาหารที่นักเรียนได้ทดลองปฏิบัติจริงเป็นระยะ เพื่อปรับปรุงจนเกิดผลตามแผนงานที่กำหนด มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 85 คน ประกอบด้วนักเรียน 60 คน และครู 25 คน จาก 12 โรงเรียน

กรรมการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ติดตามการเรียนการสอนของนักเรียนพิการสองคนที่เป็น “กรณีศึกษาพระราชทาน” จังหวัดนราธิวาส

กรรมการและคณะทำงานมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเข้านิเทศงานและติดตามการดำเนินงานโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสำหรับคนพิการของโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่     เมื่อวันที่ 10-11 ตุลาคม 2566 อาจารย์วันทนีย์ พันธชาติ กรรมการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมกับ นางสาวอลิสา สุวรรณรัตน์ ผู้ทำงานมูลนิธิฯ ได้เดินทางไปจังหวัดนราธิวาสเพื่อติดตามการเรียนการสอนของนักเรียนพิการสองคนที่เป็น “กรณีศึกษาพระราชทาน” คือ เด็กชายฮาริส ดาแมยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เด็กชายอับดุลวาเรส เปาะซูปายา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รวมทั้งนางสาวซูไฮนี ดาแมยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พี่สาวเด็กชายฮาริส ทั้งสามคนเป็นนักเรียนโรงเรียนนราสิกขาลัย อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ นักวิจัย นาโนเทค ไบโอเทค และ เอ็นเทค สวทช. ร่วมประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำให้แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเทพภูเงิน และชุมชนบ้านเทพภูเงิน จังหวัดอุดรธานี ในโครงการตามพระราชดำริ

มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ นักวิจัย นาโนเทค ไบโอเทค และ เอ็นเทค สวทช. ร่วมประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำให้แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเทพภูเงิน และชุมชนบ้านเทพภูเงิน จังหวัดอุดรธานี ในโครงการตามพระราชดำริ      มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดประชุมคณะทำงานโครงการ “การจัดหาแหล่งน้ำ น้ำอุปโภคบริโภค ให้แก่โรงเรียน ตชด.บ้านเทพภูเงิน และชุมชนบ้านเทพภูเงิน จ.อุดรธานี” ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมชั้น 1 อาคารนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา     ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ เป็นประธาน ในการนี้ได้พิจารณาแผนการติดตามบำรุงรักษาและตรวจสอบคุณภาพน้ำเพื่อความปลอดภัยของระบบจัดการน้ำอุปโภคและบริโภคในโรงเรียน ตชด.บ้านเทพภูเงิน และชุมชนบ้านเทพภูเงิน , โครงการจัดหาแหล่งน้ำ น้ำอุปโภคบริโภค ฯ , โครงการและแผนการปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติ ในชุมชนบ้านเทพภูเงิน , โครงการและแผนการสนับสนุนการทำเกษตรพื้นฐาน ปลูกพืชสมุนไพร … Read more

ประกาศรับสมัครนักศึกษาเข้าร่วมโครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อน ประกาศรับสมัครนักศึกษาเข้าร่วมโครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อน ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

ประกาศรับสมัครนักศึกษาประจำปี 2566 ขอเชิญสมัครเข้าร่วมโครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อน ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นการดำเนินกิจกรรมเพื่อคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม ดังต่อไปนี้ 1. โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเซิร์น (CERN Summer Student Program) ณ สมาพันธรัฐสวิส 2. โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี (DESY Summer Student Program) ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 3. โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนจีเอสไอ (GSI/FAIR Summer Student Program) ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 4. โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนไอซ์คิวบ์ (Icecube Summer Student Program) ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา สถาบันวิจัยระดับโลก 4 แห่งเปิดโอกาสให้ประเทศไทยคัดเลือกนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์เข้าร่วมค่ายภาคฤดูร้อน ให้ได้มีโอกาสเข้าร่วมทำงานวิจัยกับนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง ฟิสิกส์ดาราศาสตร์พลังงานสูง และวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ดูรายละเอียดและสมัครได้ที่ https://www.nstda.or.th/desy/desy-4/index.php รับสมัครตั้งแต่ บัดนี้ – 30 พฤศจิกายน 2566

ติดตามผลการใช้งานระบบบริการการพบแพทย์ทางไกล (Telehealth) ในพื้นที่นำร่องของโครงการไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบ

  สวทช. ติดตามผลการใช้งานระบบบริการการพบแพทย์ทางไกล (Telehealth) ในพื้นที่นำร่องของโครงการไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบ    วันที่ 29 กันยายน 66 โดยสำนักงานประสานงานโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (HRH) ร่วมกับ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) และมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ดำเนินโครงการไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบ โดยจัดอบรมการใช้งานระบบบริการการพบแพทย์ทางไกล (Telehealth) ให้กับสุขศาลาพระราชทานห้องพยาบาลของโรงเรียน ตชด. และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) ในพื้นที่นำร่องของโครงการจำนวน 7 แห่ง โดยเปิดทดสอบใช้งานตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 – พฤษภาคม 2566 จากการติดตามผลการใช้งาน พบว่า รพ.สต.ห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และสุขศาลาพระราชทานของโรงเรียน ตชด. บ้านโป่งลึก จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องของระบบบริการการพบแพทย์ทางไกล (Telehealth) ยังมีปัญหาด้านการใช้งานระบบทางทีมวิจัยจึงดำเนินปรับปรุงแก้ไขให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป โดย มี ดร.กิตติ วงศ์ถาวราวัฒน์ ผอ. ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) … Read more

มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ สวทช. ภายใต้การสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) จัดอบรมหลักสูตรการทำโครงงานเกษตรอัฉริยะ (AI Coding for Smart Agriculture)

มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีร่วมกับ สวทช. ภายใต้การสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) จัดอบรมหลักสูตรการทำโครงงานเกษตรอัฉริยะ (AI Coding for Smart Agriculture) (วันที่ 27 กันยายน 2566): ดร.พัชร์ลิตา ฉัตรวริศพงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นประธานในพิธีมอบเงินสนับสนุนการทำโครงงานให้กับนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะด้านสะเต็มและโค้ดดิ้ง (STEM and Coding Skills) แก่เยาวชนในชนบท เพื่อก้าวสู่ยุวเกษตรกรอัจฉริยะในอุตสาหกรรมเกษตรแม่นยำ โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ภายใต้การสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) โดยมีโรงเรียนเป้าหมายภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิฯ ที่ผ่านการคัดเลือกข้อเสนอโครงงานด้านเกษตรอัตโนมัติเกษตรแม่นยำ จำนวน 46 โครงงาน จากโรงเรียน 31 แห่ง รวมจำนวนทั้งสิ้น 114 คน เข้าร่วมอบรมหลักสูตร “การทำโครงงานเกษตรอัฉริยะ (AI Coding for Smart Agriculture)” ระหว่างวันที่ 25-27 … Read more

กิจกรรม“คลินิกโครงงานวิจัยโลกทั้งระบบ สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ”

คลินิกสร้างโครงงานวิจัยและสื่ออย่างสร้างสรรค์ เพื่อสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นครั้งที่ 2     มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสำนักงานประสานงานโครงการตามพระราชดำริฯ (HRH) และงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท (SRS) โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิใจกระทิง จัดกิจกรรม“กิจกรรม “คลินิกสร้างโครงงานวิจัยและสื่ออย่างสร้างสรรค์ เพื่อสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น” ระหว่างวันที่ 19 – 21 กันยายน 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ “ดิจิทัลและวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น” วัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม (1) โรงเรียนได้นำเสนอข้อเสนอโครงงานวิจัยโลกทั้งระบบ โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำปรึกษา เพื่อแก้ไข ปรับปรุงข้อเสนอโครงงานฯ ก่อนของบประมาณสนับสนุนการทำโครงงานฯ ในลำดับต่อไป (2) อบรมแนวทางจัดทำสื่ออย่างสร้างสรรค์เพื่อสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น เพื่อนำเสนอประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นที่ตนค้นพบเผยแพร่สู่ชุมชนต่อไป โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แก่ พระอาจารย์ สามเณร ครู และนักเรียน จากโรงเรียนพระปริยัติธรรม โรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา ในโครงการตามพระราชดำริฯ ทั้งในรูปแบบ ออนไซต์ และออนไลน์ จำนวน … Read more

วิทย์ไมตรีไทย-จีน ไทยโทคาแมค-1 (Thailand Tokamak-1: TT-1) เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันเครื่องแรกของไทย และความก้าวหน้าการพัฒนาเครื่องโทคาแมคในจีน

เครดิต : วารสารวิทย์ไมตรีไทย-จีน_สค66.pdf (stsbeijing.org)