TH  |  EN

กิจกรรม “คลีนิคโครงงาน และการนำเสนอผลงาน (ผ่านระบบออนไลน์)”

มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จัดกิจกรรม “คลีนิคโครงงาน และการนำเสนอผลงาน (ผ่านระบบออนไลน์)” ในวันที่ 29 กันยายน 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการทำโครงงานทางวิทยาศาสตร์ด้านอาหารของนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทุน ให้ความรู้เพิ่มเติมและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำโครงงานจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทุนทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านอาหารและครูที่ปรึกษาโครงงาน ประจำปี ๒๕๖๕ ในโครงการบ่มเพาะเยาวชนในชนบทให้เป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ด้านนวัตกรรมอาหาร กิจกรรมดังกล่าวมีผู้เข้ารวมกิจกรรม 86 คน (ครู 24 คน , นักเรียน 62 คน)

กิจกรรม “คลีนิคโครงงาน และการนำเสนอผลงาน (ผ่านระบบออนไลน์)”

มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จัดกิจกรรม “คลีนิคโครงงาน และการนำเสนอผลงาน (ผ่านระบบออนไลน์)” ในวันที่ 29 กันยายน 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการทำโครงงานทางวิทยาศาสตร์ด้านอาหารของนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทุน ให้ความรู้เพิ่มเติมและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำโครงงานจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทุนทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านอาหารและครูที่ปรึกษาโครงงาน ประจำปี ๒๕๖๕ ในโครงการบ่มเพาะเยาวชนในชนบทให้เป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ด้านนวัตกรรมอาหาร กิจกรรมดังกล่าวมีผู้เข้ารวมกิจกรรม 86 คน (ครู 24 คน , นักเรียน 62 คน)

ค่ายอิคคิวซัง 2 ประจำปีการศึกษา 2565 “พิชิตปัญหาการทำโครงงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้ไอซีที”

มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดให้มีการอบรม “ค่ายอิคคิวซัง 2 ปีการศึกษา2565 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานสำหรับทำโครงงานแก่โรงเรียนพระปริยัติธรรมภาคเหนือ วันเสาร์ที่ 17 – วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน 2565 ณ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนจากโรงเรียนพระปริยัติธรรมจังหวัดน่าน, แพร่, พะเยา และลำปาง จากโรงเรียน 9 แห่ง มีสามเณรและครูเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 80 รูป/คน มีอาจารย์และนักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ช่วยในการจัดค่ายและให้คำปรึกษาแก่ครูและนักเรียน ประมาณ 15 คน โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมภาษา Logo ควบคุม Gogo Board สามารถประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในการทำโครงงานและสามารถจัดทำข้อเสนอโครงงานที่นำไปใช้ประโยชน์ในโรงเรียนหรือชุมชนในประเด็นที่กำหนดได้

ค่าย 2 : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว และสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วย 3D Printer ณ โรงแรมญันนะตีย์ จ.สงขลา

มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีได้ดำเนินกิจกรรม “ค่ายสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว และสร้างชิ้นงาน 3 มิติด้วย 3D Printer” ภายใต้โครงการพัฒนาทักษะด้าน อิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้จัดทำโครงงานหรือนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริมให้เกิดทักษะการคิด การแก้ปัญหา และเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำโครงงาน อันเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 จำนวน 3 ค่ายต่อเนื่อง แล้วจัดให้มีกิจกรรม Show & Share เป็นประจำทุกปีพร้อมทั้ง ส่งเสริมให้นักเรียนส่งโครงงานเข้าร่วมประกวดในเวทีต่าง ๆ และผลงานที่เกิดขึ้นจะสร้างโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาต่ออุดมศึกษาในโควตาพิเศษ ฝ่ายเลขานุการฯ กำหนดจัดการอบรมเชิงปฎิบัติการ “ค่าย 2 : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว และสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วย 3D Printer” ปีที่ 9 ประจำปีการศึกษา 2565 ให้แก่ครูและนักเรียนจากโรงเรียน ทสรช. ในพื้นที่ภาคใต้ และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในการอบรมครั้งนี้ในรูปแบบ Onsite ในวันที่ 23 – 25 กันยายน 2565 … Read more

กิจกรรม “คลีนิคโครงงาน และการนำเสนอผลงาน (ผ่านระบบออนไลน์)”

มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จัดกิจกรรม “คลีนิคโครงงาน และการนำเสนอผลงาน (ผ่านระบบออนไลน์)” ในวันที่ 29 กันยายน 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการทำโครงงานทางวิทยาศาสตร์ด้านอาหารของนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทุน ให้ความรู้เพิ่มเติมและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำโครงงานจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทุนทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านอาหารและครูที่ปรึกษาโครงงาน ประจำปี ๒๕๖๕ ในโครงการบ่มเพาะเยาวชนในชนบทให้เป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ด้านนวัตกรรมอาหาร กิจกรรมดังกล่าวมีผู้เข้ารวมกิจกรรม 86 คน (ครู 24 คน , นักเรียน 62 คน)