TH  |  EN

โครงการความร่วมมือไทย – เดซี ตามพระราชดำริฯ

โครงการความร่วมมือไทย – สิงคโปร์เรื่องนาฬิกาอะตอมเพื่อพัฒนากำลังคนและการวิจัยพัฒนาตามพระราชดำริฯ ความเป็นมา     สถาบันเดซี (DESY: Deutsches Elektronen-Synchrotron หรือ “German Electron Synchrotron”) ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2502 มีที่ตั้งอยู่ ณ เมืองฮัมบูร์ก (Hamburg) และเมืองซอยเธน (Zeuthen) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สถาบันเดซีเป็นหนึ่งในบรรดาห้องปฏิบัติการชั้นนำของโลกด้านฟิสิกส์ของอนุภาคมูลฐานและงานวิจัยที่ใช้แสงซินโครตรอน มีบุคลากรราว 2,000 คน เป็นนักวิทยาศาสตร์ราว 600 คน งบประมาณปีละ 192 ล้านยูโร (ราว 7,067 ล้านบาท) ซึ่งเป็นงบประมาณ 170 ล้านยูโร (ราว 6,400 ล้านบาท) สำหรับฮัมบูร์ก และ 19 ล้านยูโร (ราว 700 ล้านบาท) สำหรับซอยเธน โดยงบประมาณได้รับจากกระทรวงศึกษาธิการและวิจัยของรัฐบาลกลางเป็นสำคัญ … Read more

ความร่วมมือพัฒนาระบบเคลือบกระจกสำหรับโครงการหมู่กล้องโทรทรรศน์รังสีเชเรนคอฟ (Cherenkov Telescope Array หรือ CTA)

ความร่วมมือพัฒนาระบบเคลือบกระจกสำหรับโครงการหมู่กล้องโทรทรรศน์รังสีเชเรนคอฟ (Cherenkov Telescope Array หรือ CTA) วันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงเป็นประธาน ณ สถาบันเดซีในการลงนาม MoUระหว่างสถาบันเดซีและ สดร. ด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์อนุภาค      โครงการหมู่กล้องโทรทรรศน์รังสีเชเรนคอฟมีกำหนดการแล้วเสร็จในปี 2568 จะถือเป็นหอสังเกตการณ์ใหม่ของโลก ที่เปิดประตูสู่การค้นหาธรรมชาติของแหล่งกำเนิดรังสีระดับพลังงานสูงในจักรวาล อาทิ หลุมดำ ซูเปอร์โนวา หรือความลับทางฟิสิกส์ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักและอาจเป็นกุญแจสู่การค้นพบที่สำคัญที่สุดของมนุษยชาติ ทั้งนี้ การเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นสักขีพยานการลงนามความร่วมมือด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์อนุภาค ระหว่างสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กับสถาบันเดซี สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 ณ เมืองฮัมบูร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นความร่วมมือพัฒนาระบบเคลือบกระจก สำหรับโครงการหมู่กล้องโทรทรรศน์รังสีเชเรนคอฟ (CTA : Cherenkov Telescope Array) ของประเทศไทย บทบาทของประเทศไทยในโครงการ CTA … Read more