โครงการภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering Consortium) ตามพระราชดำริฯ
ภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย (Thailand Biomedical Engineering Consortium) ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2548 เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในการสนับสนุนและพัฒนาเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering: BME) ซึ่งต้องมีการบูรณาการทั้งทางด้านชีววิทยา วิศวกรรม วัสดุศาสตร์ คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ และนาโนเทคโนโลยี เพื่อนำมาผสมผสานในการแก้ไขปัญหาสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุข การฟื้นฟูสมรรถภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานภาคีฯ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ เป็นประธาน ภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย ประกอบด้วย สมาชิกจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย เริ่มต้นจาก 7 แห่ง ปัจจุบันขยายเป็น 24 แห่ง การจัดตั้งภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลการศึกษาวิจัย การเรียน การสอน และการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานระหว่างแต่ละสถาบัน สร้างเครือข่ายการวิจัย ลดการซ้ำซ้อนของการลงทุนด้านเครื่องมือและพัฒนากำลังคนร่วมกัน กิจกรรมหลักประกอบด้วย การประชุมร่วมกันปีละ 4 ครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา ร่วมพัฒนาบุคลากรและพิจารณาทุนการศึกษาให้แก่สถาบันต่าง ๆ ตลอดทั้งร่วมจัดกิจกรรมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ ปีละ 2 ครั้ง และขยายความร่วมมือและสร้างความร่วมมือระหว่างสมาชิกของภาคีฯ
เพื่อ สนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในการสนับสนุนและพัฒนาเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวการแพทย์ (BME) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครีอข่าย ประสานงาน รวบรวมนักวิจัยและนักวิชาการแขนงต่างๆ ผลักดันและร่วมมือเพื่อสร้าง ความแข็งแกร่งด้านการวิจัยและใช้ประโยชน์จากศาสตร์แขนงนี้ โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานหลักของภาคีฯ “วิศวกรรมชีวการแพทย์ มีลักษณะพิเศษซึ่งต้องบูรณาการศาสตร์แขนงต่างๆ ทั้งทางด้านชีววิทยา วิศวกรรม วัสดุศาสตร์ คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และนาโนเทคโนโลยี เพื่อนำมาผสมผสานในการแก้ไขปัญหาสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุข การฟื้นฟูสมรรถภาพ และ เสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย”
ภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย มีสมาชิกจากมหาวิทยาลัย/สถาบันวิจัยรวม 13 แห่ง
การพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ ภาคีฯ ได้พัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ทั้งนักวิจัย อาจารย์ และนิสิตนักศึกษา ดังนี้
ㆍ ทุนการศึกษาต่างประเทศ : ในระยะที่ 1 (พ.ศ. 2550 – 2556) ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงาน ก.พ. จัดสรรทุนเพื่อพัฒนา บุคลากรในระดับปริญญาโท-เอก จำนวน 48 ทุน และในระยะที่ 2 (พ.ศ. 2557 – 2561) ได้ทำการสำรวจความต้องการทุน การพัฒนาบุคลากรของประเทศจำนวน 80 ทุน
ㆍการผลิตกำลังคน (คณาจารย์ นักวิจัย) ในประเทศไทย : ปัจจุบันประเทศไทยมีนักวิจัยและอาจารย์ด้าน BME จำนวน ประมาณ 390 คน โดยปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยของภาคีฯ ประมาณ 200 คน และปฏิบัติงานในศูนย์ทคโนโลยีแห่งชาติของ สวทช. ประมาณ 190 คน
ㆍ หลักสูตร : ปัจจุบันมีหลักสูตรระดับปริญญาตรี-โท-เอก ที่มุ่งเน้นด้านวิศวกรรมชีวการแพทยั จัดสอนในมหาวิทยาลัย โดยจำแนก เป็นปริญญาตรี 4 หลักสูตร ปริญญาโท 9 หลักสูตร และปริญญาเอก 7 หลักสูตร
ตัวอย่างผลงานของภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์
แบบจำลองเครื่องสร้างภาพตัดขวางขนาดเล็ก (Mini CT Model) แบบจำลองเครื่องสร้างภาพตัดขวางขนาดเล็กใช้หลักการเดียวกับเครื่องสร้างภาพตัดขวางที่การแพทย์ที่เรียกว่า Computer Tomography (CT) แต่ใช้กล้องดิจิทัลติดอยู่บนแกนทรีที่หมุนได้เพื่อถ่ายภาพรอบๆ วัตถุ ข้อมูลภาพที่ได้จะถูกนำมาสร้างภาพตัดขวางและ ภาพ 3 มิติ โดยโปรแกรมการประมวลผลภาพที่พัฒขึ้น เหมาะที่จะนำไปใช้ในงานด้านอุตสาหกรรม เพื่อสร้างแบบจำลอง 3 มิติ และ การเรียนการสอนด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์