TH  |  EN

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชวโรกาสให้นำผู้บริหาร นักวิจัยที่จะเดินทางไปศึกษาวิจัยที่บริเวณในบริเวณขั้วโลกเหนือ และผู้สนับสนุน เข้าเฝ้าฯ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชวโรกาสให้นำผู้บริหาร นักวิจัยที่จะเดินทางไปศึกษาวิจัยที่บริเวณในบริเวณขั้วโลกเหนือ และผู้สนับสนุน เข้าเฝ้าฯ เครดิตโดย สำนักข่าวไทย original link : คลิก เมื่อ :วันที่ 17 กรกฎาคม 2561 สถานที่ : อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา จัดโดย : มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เวลา 15.20 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จลง ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต พระราชทานพระราชวโรกาสให้ ศาสตราจารย์ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะ นำนักวิจัยที่จะเดินทางไปศึกษาวิจัยและปฏิบัติงาน ในบริเวณทะเลชายฝั่งหมู่เกาะสวาลบาร์ดของมหาสมุทรอาร์กติก ราชอาณาจักรนอร์เวย์ เฝ้าทูลละอองพระบาท กราบถวายบังคมลา และรับพระราชทานธงชาติไทย กับธงประดับอักษรพระนามาภิไธย “สธ” สืบเนื่องจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชดำริให้นักวิทยาศาสตร์ไทยขยายความร่วมมือในการศึกษาวิจัยขั้วโลก จากเขตแอนตาร์กติก (ขั้วโลกใต้) เข้าสู่เขตอาร์กติก (ขั้วโลกเหนือ) … Read more

ชีวิตนักวิจัยไทยที่ขั้วโลกใต้ 2559

ชีวิตนักวิจัยไทยที่ขั้วโลกใต้ 2559      ปี 2558 ศาสตราจารย์ ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ อาจารย์จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และนายปฐพร เกื้อนุ้ย นิสิตปริญญาเอก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สองนักวิจัยจากประเทศไทย รูปที่ 1 ทีมนักวิจัยจากประเทศไทยถ่ายรูปบริเวณป้ายของสถานีวิจัยสาธารณรัฐประชาชนจีน รูปที่ 2 ทีมนักวิจัยจากประเทศไทย      ได้รับคัดเลือกให้ร่วมสำรวจขั้วโลกใต้กับทีมนักวิจัยขั้วโลกของสาธารณรัฐประชาชนจีน (Chinese Arctic and Antarctic Administration (CCA)) ณ สถานีวิจัยเกรทวอลล์ (Great Wall Station) ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะคิงจอร์จ (King George Island) บริเวณคาบสมุทรแอนตาร์กติก รูปที่ 3 รูปที่ 3 สถานีวิจัยเกรทวอลล์ (Great Wall Station)      เป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือนเริ่มตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม … Read more

ทำไมสนใจทำวิจัยที่ทวีปแอนตาร์กติก

ทำไมสนใจทำวิจัยที่ทวีปแอนตาร์กติก        นักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกต่างก็เดินทางไปทวีปแอนตาร์กติก เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ บรรยากาศ ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์ทางทะเล ธรณีวิทยา นิเวศวิทยา และอื่นๆ อีกมาก เนื่องจากทวีปแอนตาร์กติกเป็นทวีปที่อยู่ล้อมรอบขั้วโลกใต้ โดยพื้นที่เกือบทั้งหมดปกคลุมด้วยน้ำแข็งตลอดปี เป็นพื้นที่บนผิวโลกที่แยกจากทวีปอื่น ห่างไกล หนาวเย็น ปราศจากมนุษย์ที่อาศัยอย่างถาวรจึงมีสภาพแวดล้อมที่บริสุทธิ์     นักวิจัยไทยในโครงการวิจัยขั้วโลก รุ่นที่ 1 พ.ศ.2557     รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรฤทัย ภิญญาคง สองนักวิทยาศาสตร์ไทยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกแห่งจีนครั้งที่ 30 (CHINARE-30: 30th Chinese Antarctic Research Expedition) ทำการศึกษาวิจัย ณ สถานีวิจัยเกรทวอลล์ (Great Wall Station) ระหว่าง 1 มกราคม ถึง 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. … Read more

การสนับสนุนบุคคลไปศึกษาระดับปริญญโท-ปริญญาเอก ณ UCAS

การสนับสนุนบุคคลไปศึกษาระดับปริญญโท-ปริญญาเอก ณ UCAS        สำนักงาน ก.พ.ทำความร่วมมือกับ UCASที่จะสนับสนุนบุคคลไปศึกษาระดับปริญญาโท-ปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ UCASปัจจุบันมีผู้รับทุน รวมทั้งสิ้น 17 คน จบการศึกษาระดับปริญญาเอกกลับมาปฏิบัติงานในประเทศแล้ว 5 คน ดังนี้     ชื่อ: นายวราวุฒิ ศุภมิตรมงคล    สาขา : Management Science and Engineering (ด้าน Data mining)    สถาบัน : Research Center on Fictitious Economy and Data Science    สถานที่ทำงานปัจจุบัน: สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตำแหน่ง นักวิจัย     ชื่อ: นายฐนวรรธน์ นิยะโมสถ    … Read more

ภาคีความร่วมมือไทย-จูโน

ภาคีความร่วมมือไทย-จูโน      ภาคีความร่วมมือไทย-จูโน เป็นอีกหนึ่งโครงการที่รับสนองพระราชดำริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของชาติโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย      สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างทั้งสามสถาบันของไทยกับสถาบันฟิสิกส์พลังงานสูง (Institute of High Energy Physics) หรือ IHEP ในการทดลอง Jiangmen Underground Neutrino Observatory หรือ JUNO ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560 ณ IHEP กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน      สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทอดพระเนตรต้นแบบ photomultiplier tube ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 นิ้ว ที่ใช้ในการทดลอง JUNO      (จากซ้ายมาขวา) … Read more

ITER: International Fusion Energy Organization

ITER: International Fusion Energy Organization รูปที่ 1: ดวงอาทิตย์อาศัยพลังงานฟิวชัน      มนุษย์เราเฝ้ามองเห็นดวงอาทิตย์มาเป็นเวลาหลายหมื่นปี ความฝันของมนุษย์อย่างหนึ่งคือการสร้างดวงอาทิตย์บนโลกเพื่อเป็นแหล่งพลังงานที่ไม่สิ้นสุดของเรา แนวความคิดอันสุดแสนอัศจรรย์และท้าทายนี้สร้างแรงบันดาลใจให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจำนวนมากให้ทุ่มเทความรู้ความสามารถในการพัฒนาพลังงานที่ไม่สิ้นสุดนี้หรือที่เรียกอีกอย่างว่า “พลังงานฟิวชัน” มนุษย์ได้รู้จักและเรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานฟิวชันมาร่วม 1 ศตวรรษ มีการศึกษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในหลายมุมโลก ก่อให้เกิดการเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมนิวเคลียสอุณหภูมิสูงที่มากขึ้นเรื่อยๆและเข้าใกล้การพัฒนาไปสู่การใช้งานจริงมากขึ้นเรื่อยๆ ในหลักการนั้นพลังงานฟิวชันเกิดจากปฏิกิริยาการหลอมรวมนิวเคลียสหรือที่เรียกว่า “พลาสมา” โดยนิวเคลียสของธาตุขนาดเบารวมตัวกันเป็นนิวเคลียสของธาตุที่มีขนาดหนักขึ้น และในระหว่างทางจะมีการปลดปล่อยพลังงานจำนวมหาศาลออกมาด้วย โดยทั่วไปแล้วปฏิกิริยาฟิวชันจะปลดปล่อยพลังงานมากกว่าปฏิกิริยาเคมีทั่วไปหลายล้านเท่าเลยทีเดียว ตัวอย่างของการเกิดพลังงานฟิวชันในธรรมชาติ คือ การหลอมรวมของไฮโดรเจนในดวงอาทิตย์นั้นเอง ซึ่งพลังงานฟิวชันนี้ได้ขับเคลื่อนดวงอาทิตย์ให้ส่องสว่างและให้ความอบอุ่นกับโลกของเราและเหล่าดาวเคราะห์บริวารมานานหลายพันล้านปี จุดเด่นของพลังงานฟิวชันคือไม่มีการปล่อยก็าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศจึงถือว่าเป็นพลังงานสะอาดที่เหมาะสมกับธรรมชาติ และมีข้อดีอีกอย่างคือไม่มีกากกัมตรังสีหลงเหลือให้ต้องจัดการจึงมีความสะดวกและปลอดภัยสูง อีกทั้งเชื้อเพลิงก็มีอยู่เป็นจำนวนมากและสามารถหาได้ทั่วไปจากน้ำทะเล      การพัฒนาพลังงานฟิวชันเพื่อไปสู่โรงไฟฟ้าฟิวชันนั้นเกิดขึ้นตาม 4 ขั้นตอนได้แก่ ก.) การกำเนิดพลาสมา หรือ กระบวนการแปลงจากสถานะแก๊สสู่สถานะพลาสมา ซึ่งอาศัยกระบวนการแตกตัวของอะตอมไปเป็นไอออนของธาตุนั้นเอง ข.) การเพิ่มอุณหภูมิของพลาสมาให้สูงขึ้น กระทั่งได้รับพลังงานมากพอที่จะเอาชนะแรงผลักระหว่างนิวเคลียสของกันเองได้ ค.) กระบวนการหลอมรวมของนิวเคลียสให้กลายเป็นนิวเคลียสที่หนักกว่าเดิม และเป็นขั้นตอนที่เกิดการปลดปล่อยพลังงาน ง.) การแปลงพลังงานที่ได้ไปเป็นพลังงานไฟฟ้า สองขั้นตอนแรก จะต้องใช้พลังงานป้อนเข้าจากภายนอก ส่วนขั้นตอนที่สามจึงเป็นขั้นตอนการผลิตพลังงาน ดุลยภาพเชิงพลังงานเกิดเมื่อพลังงานที่ผลิตได้ (จากขั้นตอนที่สาม) เท่ากันกับพลังงานที่ต้องใช้ … Read more

ความร่วมมือของสถาบันวิจัย-สถาบันการศึกษาไทยกับ CAS

ความร่วมมือของสถาบันวิจัย-สถาบันการศึกษาไทยกับ CAS .      ในการสร้างความสัมพันธ์ไทยและจีน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีสถาบันวิจัย-สถาบันการศึกษาของไทยทำความร่วมมือกับสถาบันวิจัยของ CAS ในด้านการพัฒนาบุคลากร แลกเปลี่ยนนักวิจัย องค์ความรู้ ตลอดจนร่วมกันโครงการการวิจัยร่วมกัน       ตัวอย่างความร่วมมือโครงการวิจัย      โครงการระบบแปลภาษาอัตโนมัติระหว่างภาษาไทยและภาษาจีน เป็นโครงการระหว่างศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. และ Institute of Computing (ICT), CAS RADI-GISTDA      โครงการการใช้ประโยชน์จากข้อมูลดาวเทียมของฝ่ายจีนและไทย เป็นโครงการระหว่างสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และ Institute of Remote Sensing and Digital Earth (RADI) 

ประกาศขยายเวลารับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนการศึกษาไปศึกษาวิชา ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและการออกแบบแห่งสิงคโปร์ (Singapore University of Technology and Design : SUTD) สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประจำปีการศึกษา 2566 (ค.ศ. 2023) ระดับปริญญาเอก หลักสูตรภาษาอังกฤษ

ประกาศขยายเวลารับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนการศึกษาไปศึกษาวิชา ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและการออกแบบแห่งสิงคโปร์ (Singapore University of Technology and Design : SUTD) สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประจำปีการศึกษา 2566 (ค.ศ. 2023) ระดับปริญญาเอก หลักสูตรภาษาอังกฤษ  ตามที่มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีประกาศลงวันที่ 27 ธันวาคม 2565 เรื่อง รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนการศึกษาไปศึกษาวิชา ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและการออกแบบแห่งสิงคโปร์ (Singapore University of Technology and Design : SUTD) สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประจำปีการศึกษา 2566 (ค.ศ. 2023) ระดับปริญญาเอก หลักสูตรภาษาอังกฤษ จำนวน 3 ทุน มีรายละเอียดทุนและเงื่อนไขการศึกษาตามเอกสารแนบท้ายประกาศ และรับสมัครถึงวันที่ 17  กุมภาพันธ์ 2566 นั้น บัดนี้ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ ได้พิจารณาแล้ว เพื่อประโยชน์สูงสุดตาม วัตถุประสงค์ของมูลนิธิและมหาวิทยาลัย จึงเห็นควรให้ขยายเวลารับสมัครทุนดังกล่าวจนถึงวันที่ 1 มีนาคม 2566 … Read more