TH  |  EN

ประกาศรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนการศึกษา ไปศึกษาวิชา ณ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสโกลโกโว (Skolkovo Institute of Science and Technology: Skoltech) สหพันธรัฐรัสเซีย ประจำปีการศึกษา 2566 (ค.ศ. 2023) หลักสูตรภาษาอังกฤษ

 ประกาศรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนการศึกษา ไปศึกษาวิชา ณ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสโกลโกโว (Skolkovo Institute of Science and Technology: Skoltech) สหพันธรัฐรัสเซีย ประจำปีการศึกษา 2566 (ค.ศ. 2023) หลักสูตรภาษาอังกฤษ      ด้วยสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสโกลโกโว (Skolkovo Institute of Science and Technology: Skoltech) สหพันธรัฐรัสเซีย ได้ทูลเกล้าฯ ถวายทุนการศึกษาแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อพระราชทานแก่บุคคลที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัย ไปศึกษาระดับปริญญาโท ในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสโกลโกโว สหพันธรัฐรัสเซีย ประจำปีการศึกษา 2566 (ค.ศ. 2023) หลักสูตรภาษาอังกฤษ จำนวน 3 ทุน ไม่มีข้อผูกพันการชดใช้ทุน ดังนี้      • ทุนการศึกษา : ระดับปริญญาโท ระยะเวลา ไม่เกิน … Read more

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ตาก

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ตาก ความเป็นมา      บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานทำเหมืองแร่สังกะสี ในพื้นที่ป่าสงวน ป่าแม่สอด 2,077 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ต.พระธาตุผาแดง อ.แม่สอด จ.ตาก วันที่ 24 มีนาคม 2558 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมทรงรับ “โครงการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม” ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (หนังสือพระราชสำนักราชเลขาธิการที่ รล0008.4/7369) ปี 2559 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมบริเวณเหมืองสังกะสี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอแม่สอด โดย สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เป็นผู้ประสานงาน ปัจจุบันบริษัทได้ยุติการทำเหมืองแร่สังกะสี เมื่อปี 2560 และได้ส่งมอบคืนพื้นที่แก่กรมป่าไม้ในปี 2562 แนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่เหมืองผาแดง 7 กิจกรรม   1) ศูนย์อบรมสัมมนาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  2) พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่สังกะสีดอยผาแดง  3) ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุ  … Read more

โครงการ CASAVASTORE

   โครงการ CASAVASTORE   วัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาข้อมูลฟีโนไทป์ จีโนไทป์ และ สรีรวิทยาเกี่ยวกับการพัฒนาของรากสะสมอาหารของมันสำปะหลังเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำ โดยมีแผนงานวิจัย 4 แผนงาน ดังนี้       หน่วยงานความร่วมมือ : ไบโอเทค สวทช., เนคเทค สวทช., มจธ. , ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง (ศวร.)    แผนงานวิจัยที่ 1 การศึกษาการแบ่งส่วนการใช้คาร์บอนระหว่างการสร้างรากสะสมแป้งในมันสำปะหลังต่างสายพันธุ์ หน่วยงานที่รับผิดชอบคือ มจธ. จูลิช-IBG2    แผนงานวิจัยที่ 2 การประเมินฟีโนไทป์รากสะสมอาหารจากเชื้อพันธุกรรมมันสำปะหลังและการเตรียมตัวอย่างสารพันธุกรรมของเชื้อพันธุกรรม มันสำปะหลังเพื่อศึกษาข้อมูลจีโนไทป์ หน่วยงานที่รับผิดชอบคือ ศวร.ระยอง เนคเทค ไบโอเทค และจูลิช-IBG2    แผนงานวิจัยที่ 3 การค้นหายีนและเครื่องหมายโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการสร้างรากสะสมอาหารของมันสำปะหลัง หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ ไบโอเทค และ จูลิช-IBG 2    แผนงานวิจัยที่ 4 การศึกษาเพื่อยืนยันหน้าที่ของยีนที่ควบคุมการสร้างรากสะสมอาหารของมันสำปะหลังเพื่อใช้ประโยชน์ในงานด้านการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังต่อไปในอนาคต หน่วยงานที่รับผิดชอบคือ ไบโอเทค ศวร.ระยอง … Read more

โครงการความร่วมมือกับจูลิช (Jülich) ตามพระราชดำริฯ

โครงการความร่วมมือกับจูลิช (Jülich) ตามพระราชดำริฯ      ศูนย์วิจัยจูลิช (Jülich Research Center) เป็นสมาชิกของสมาคมเฮ็ล์มโฮล์ท (Helmholtz Association) ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและเป็นศูนย์วิจัยหลากสาขาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป ก่อตั้งเมื่อ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1956 โดยมลรัฐไรน์-เวสต์ฟาเลียเหนือ (North Rhine-Westphalia) ก่อนที่จะกลายไปเป็นศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ในปี ค.ศ. 1967 มีงานวิจัย 4 สาขาได้แก่ สุขภาพ สารสนเทศ สิ่งแวดล้อมและพลังงาน งบประมาณประจำปีราว 705 ล้านยูโร (ค.ศ. 2018) งบประมาณจากรัฐแบ่งออกเป็น ร้อยละ 90 จากรัฐบาลกลาง และ ร้อยละ 10 จากมลรัฐไรน์-เวสต์ฟาเลียเหนือมีบุคลากรมากกว่า 6,000 คน (ค.ศ. 2018)ศูนย์วิจัยจูลิชประกอบด้วยสถาบันสำคัญ 7 แห่ง โดยสถาบันที่มีความร่วมมือกับหน่วยงานของไทย (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)) … Read more

โครงการภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering Consortium) ตามพระราชดำริฯ

โครงการภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering Consortium) ตามพระราชดำริฯ           ภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย (Thailand Biomedical Engineering Consortium) ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2548 เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในการสนับสนุนและพัฒนาเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering: BME) ซึ่งต้องมีการบูรณาการทั้งทางด้านชีววิทยา วิศวกรรม วัสดุศาสตร์ คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ และนาโนเทคโนโลยี เพื่อนำมาผสมผสานในการแก้ไขปัญหาสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุข การฟื้นฟูสมรรถภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานภาคีฯ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ เป็นประธาน ภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย ประกอบด้วย สมาชิกจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย เริ่มต้นจาก 7 แห่ง ปัจจุบันขยายเป็น 24 แห่ง การจัดตั้งภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลการศึกษาวิจัย การเรียน การสอน และการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานระหว่างแต่ละสถาบัน สร้างเครือข่ายการวิจัย ลดการซ้ำซ้อนของการลงทุนด้านเครื่องมือและพัฒนากำลังคนร่วมกัน กิจกรรมหลักประกอบด้วย … Read more

โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริฯ

โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จพระราชดำเนินเยือน “สำนักงานบริหารกิจการทางทะเล” State Oceanic Administration) ณ กรุงปักกิ่งและ “สถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งจีน” (Polar Research Institute of China) ณ นครเซี่ยงไฮ้สาธารณรัฐประชาชนจีนในวันที่ 8 และ 11 เมษายน พ.ศ.2556 ตามลำดับเพื่อทอดพระเนตรการดำเนินงานและการปฏิบัติงานวิจัยเกี่ยวกับขั้วโลกพระองค์ทรงสนทนาเป็นภาษาจีนกับนักวิจัยจีนซึ่งทำงานที่สถานีวิจัยเกรทวอลล์ (Great Wall Station) ทวีปแอนตาร์กติก ขณะนั้นผ่านทางระบบการประชุมทางไกลและทอดพระเนตรเรือตัดน้ำแข็ง“R/V Xuelong ” (Snow Dragon) ซึ่งเพิ่งเดินทางกลับจากการสำรวจทวีปแอนตาร์กติกนับเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือระหว่างไทย-จีนในเรื่องการวิจัยขั้วโลก สวทช. มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ Memoradum of Understaning) กับสำนักบริหารอาร์กติกและแอนตาร์กติก (Chinese Arcticand Antarctic Administration : CAA)สังกัดสำนักงานบริหารกิจการทางทะเลเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2556 สวทช. ร่วมกับคณะทำงานโครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริ ฯ พิจารณาคัดเลือกนักวิจัยไทยและทูลเกล้า ฯ ถวายรายชื่อเพื่อขอพระราชทานพระราชวินิจฉัยจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี … Read more

โครงการความร่วมมือไทย – สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ตามพระราชดำริฯ

โครงการความร่วมมือไทย – สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ตามพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระราชดำริให้ศึกษาแนวทางความร่วมมือ เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ โดยขยายความสัมพันธ์ทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยที่ยังมีความขาดแคลนอยู่ หน่วยงานร่วมดำเนินการ สำนักงาน ก.พ. ได้สนองพระราชดำริเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศทั้งสองโดยจัดให้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือฯ ดังกล่าวระหว่างสำนักงานก.พ.และ Graduate University of the Chinese Academy of Sciences (GUCAS) (ในปี พ.ศ. 2552 กูแคสได้เปลี่ยนชื่อเป็นยูแคส (UCAS : University of Chinese Academy of Sciences)) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินเยือน University of Chinese Academy of Sciences (UCAS) ครั้งแรกในปี พ.ศ.2548 และทรงประทับเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือ (MoU) ระหว่างสำนักงาน ก.พ. และ UCAS … Read more

โครงการความร่วมมือไทย – KATRIN และ KIT

โครงการความร่วมมือไทย – KATRIN และ KIT   ความเป็นมา     KATRIN (KArlsruhe TRItium Neutrino experiment) เป็นการปฏิบัติการทดลองเพื่อวัดมวลของอิเล็กตรอนแอนตินิว ทริโน (electron antineutrino) ที่ปลดปล่อยออกมาจากการสลายตัวแบบบีตาของทริเทียมด้วยความแม่นยำที่ระดับต่ำกว่าอิเล็กตรอนโวลต์ (sub-eV) ตั้งอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีคาร์ลสรู (Karlsruhe Institute of Technology) เมืองคาร์ลสรู สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร ช่างเทคนิค และนักศึกษามากกว่า ๑๕๐ คนจาก ๑๒ สถาบันใน ๕ ประเทศ ได้แก่ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สหราชอาณาจักรรัสเซีย สาธารณรัฐเช็ก สาธารณรัฐฝรั่งเศส และ สหรัฐอเมริกา อุปกรณ์สำคัญคือ สเปกโทรมิเตอร์ หนัก ๒๐๐ ตัน ติดตั้งและผ่านการทดสอบจนสมบูรณ์เมื่อ ค.ศ. ๒๐๑๕ การทดลองเริ่มเมื่อปลายปี ค.ศ. ๒๐๑๖ … Read more

โครงการความร่วมมือไทย – เดซี ตามพระราชดำริฯ

โครงการความร่วมมือไทย – สิงคโปร์เรื่องนาฬิกาอะตอมเพื่อพัฒนากำลังคนและการวิจัยพัฒนาตามพระราชดำริฯ ความเป็นมา     สถาบันเดซี (DESY: Deutsches Elektronen-Synchrotron หรือ “German Electron Synchrotron”) ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2502 มีที่ตั้งอยู่ ณ เมืองฮัมบูร์ก (Hamburg) และเมืองซอยเธน (Zeuthen) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สถาบันเดซีเป็นหนึ่งในบรรดาห้องปฏิบัติการชั้นนำของโลกด้านฟิสิกส์ของอนุภาคมูลฐานและงานวิจัยที่ใช้แสงซินโครตรอน มีบุคลากรราว 2,000 คน เป็นนักวิทยาศาสตร์ราว 600 คน งบประมาณปีละ 192 ล้านยูโร (ราว 7,067 ล้านบาท) ซึ่งเป็นงบประมาณ 170 ล้านยูโร (ราว 6,400 ล้านบาท) สำหรับฮัมบูร์ก และ 19 ล้านยูโร (ราว 700 ล้านบาท) สำหรับซอยเธน โดยงบประมาณได้รับจากกระทรวงศึกษาธิการและวิจัยของรัฐบาลกลางเป็นสำคัญ … Read more