TH  |  EN

โครงการ National e-Science Infrastructure Consortium

โครงการ National e-Science Infrastructure Consortium      ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนเซิร์นครั้งที่ 3 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทอดพระเนตรโครงการ WLCG : Worldwide LHC Computing Grid ของเซิร์น และมีพระราชดำริว่า ประเทศไทยควรจะจัดทำโครงการคำนวณลักษณะกริดด้วย เพื่อประยุกต์ใช้งานภายในประเทศและขณะเดียวกันก็สามารถเชื่อมโยงกับ WLCG ได้ด้วย      จึงได้มีการได้ดำเนินการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 5 หน่วยงาน เพื่อร่วมดำเนินการจัดทำโครงการ National e-Science Infrastructure Consortium เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2554 ประกอบด้วย    (1) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ|  (2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   (3) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี   (4) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ    (5) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)   อ่านต่อ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงเรียนปริยัติธรรมวัดนาราบวิทยา

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงเรียนปริยัติธรรมวัดนาราบวิทยา https://www.youtube.com/watch?v=xNWr2fdskTc เครดิตโดย mahhaudjlink original : https://www.youtube.com/watch?v=hTUa3I8FHhM&feature=youtu.be      วันที่ 17 ม.ค. 2561 เวลา 09.15 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงเรียนปริยัติธรรมวัดนาราบวิทยา ในโครงการตามพระราชดำริฯ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ทรงติดตามการดำเนินโครงการตามพระราชดำริของโรงเรียนวัดนาราบวิทยา ซึ่งดำเนินงานครบ 8 เป้าหมายหลัก ปัจจุบันมี สามเณรนักเรียน 58 รูป เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ผลการทดสอบโอเน็ต คะแนนสูงกว่าสังกัด แต่ต่ำกว่าระดับประเทศ ส่วนผลการทดสอบบีเน็ตชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 วิชาพุทธประวัติ ธรรมะ และวินัย สูงกว่าระดับกลุ่มและใกล้เคียงระดับประเทศ ด้านสหกรณ์ ได้รับรางวัลพระราชทานโรงเรียนจัดการเรียนรู้สหกรณ์ดีเด่นระดับประเทศ ประจำปี 2559 ประเภทโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ส่วนกิจกรรมเรียนรู้ สอนเรื่องขนมสีสวยด้วยสีธรรมชาติ และโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง “เครื่องรดน้ำอัตโนมัติในโรงเพาะเห็ดนางฟ้า” ได้รับรางวัลเหรียญทองแดงจากกิจกรรมประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวประจำปี 2559 … Read more

02 โครงงานการเชิญธงชาติขึ้นศุ่ยอดเสาตามเวลาที่เรากำหนด

02 โครงงานการเชิญธงชาติขึ้นศุ่ยอดเสาตามเวลาที่เรากำหนด https://www.youtube.com/watch?v=1YYBljx-1eo&ab_channel=ThaiprincessIT เครดิตโดย  โรงเรียนวัดดอนมงคลสันติสุขวิทยา จังหวัดน่านจัดทำโดยโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมภายใต้ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

01 โครงงานเครื่องวัดระยะทางสำหรับผู้พิการทางสายตา

01 โครงงานเครื่องวัดระยะทางสำหรับผู้พิการทางสายตา เครดิตโดย  โรงเรียนวัดสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ จัดทำโดยโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม ภายใต้ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

คณะผู้แทนหน่วยงานเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน “โครงการพัฒนาทักษะด้านอิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์”

คณะผู้แทนหน่วยงานเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน “โครงการพัฒนาทักษะด้านอิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์” ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นำคณะผู้บริหารของหน่วยงานที่สนับสนุนการดำเนินงานโครงการพัฒนาทักษะด้านอิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ประจำปี ๒๕๖๒ จำนวน ๓ แห่ง ได้แก่ โรงเรียนกวดวิชา วี บาย เดอะ เบรน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ พร้อมทั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท และกราบบังคมทูลรายงานผลการดำเนินงาน ในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๒ เวลา ๙.๐๐ น. ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีดำเนินงาน “โครงการพัฒนาทักษะด้านอิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์” เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนและสามเณรได้จัดทำโครงงานด้านวิทยาศาสตร์ที่เน้นทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งเสริมให้เกิดทักษะการคิด การแก้ปัญหา และเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำโครงงาน อันเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ ตลอดจนส่งเสริมนักเรียนเข้าร่วมนำเสนอผลงานในเวทีต่าง ๆ โดยผลงานที่เกิดขึ้นจะสร้างโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในโควตาพิเศษ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มีหน่วยงานที่สนับสนุนการดำเนินงาน … Read more

ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ GSI

ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ GSI ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ GSI     การเดินทางไปฝึกทำวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาฟิสิกส์ จำนวน 1 คน ได้แก่ นายพิทยา อภิวัฒนกุล นักศึกษา ป.ตรี โครงการ พสวท. สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ม. เชียงใหม่การเข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ PANDA collaboration meeting 2019 และการลงนาม MoU ดร.สาคร ริมแจ่ม ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ PANDA collaboration meeting ณ โรงแรมดิวาน่า พลาซ่า จังหวัดกระบี่ ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562 จัดโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีกับ GSI/FAIR   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีช่วยดำเนินการประสานงาน ดังนี้    1) วันที่ 16 – 17 … Read more

ความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) (สซ.) กับ GSI /FAIR

ความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) (สซ.) กับ GSI /FAIR      PANDA (antiProton ANnihilations at DArmstadt) สร้างขึ้นเพื่อให้แอนติโปรตอนชนกับเป้าอยู่กับที่ (ได้แก่ โปรตอนในเบื้องต้นและธาตุอื่นในอนาคต) ทำให้เกิดจากการชนนี้ สถานีแพนดาจากหน่วยตรวจวัด ช่วยจำแนกชนิดและพลังงานของอนุภาคที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการศึกษาฟิสิกส์ที่เกี่ยวกับแรงอ่อน แรงเข้ม สถานะแปลกใหม่ (exotic states) ของสสารและโครงสร้างฮาดร็อน ความร่วมมือแพนดาประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ 500 คน จาก 20 ประเทศที่จะรวมกันดำเนินการวิจัยข้างต้น การผลิตลำแอนติโปรตอนนั้นเริ่มจากการผลิตโปรตอนด้วยเครื่องเร่งโปรตอนเชิงเส้น p-LINAC จนได้พลังงานประมาณ 70 MeV แล้วจึงส่งไปเร่งเพิ่มขึ้นโดยเครื่องซินโครตรอน SIS18 และ SIS100 จากนั้นโปรตอนจะถูกส่งชนเป้า (ซึ่งประกอบด้วยธาตุนิเกิลและทองแดง) เพื่อผลิตแอนติโปรตอน ซึ่งแอนติโปรตอนที่เกิดขึ้นจะมีโมเมนตัมสูงสุดถึง 15 GeV/c ถูกส่งไปยังวงแหวนกักเก็บ HESR (High Energy Storage Ring)และ CR เพื่อนำไปใช้งานต่อไป ที่ด้านหนึ่งของวงแหวาน HESR … Read more

ศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย   ศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเนื้อหาโดย ผศ. นพ.ชลเกียรติ ขอประเสริฐศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย     โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย การรักษาด้วยรังสีนั้น ถือเป็นหนึ่งในการรักษาหลักที่สำคัญ และมีการพัฒนาเทคนิคมาอย่างต่อเนื่อง จากรังสีเอกซ์พลังงานต่ำ รังสีแกมมาจากแร่โคบอลต์ จนมาถึงรังสีเอกซ์พลังงานสูงด้วยเทคนิคต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายคือ ให้รังสีปริมาณสูงที่ก้อนมะเร็ง และลดปริมาณรังสีต่อเนื้อเยื่อปกติข้างเคียงให้น้อยที่สุด เพื่อเพิ่มอัตราการหายขาดจากโรค ในขณะเดียวกันลดผลข้างเคียงจากการรักษา ผู้ป่วยจึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว การใช้อนุภาคโปรตอน ถือเป็นความก้าวหน้าไปอีกขั้น และเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพดีที่สุด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยองค์อุปนายิกา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชประสงค์ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยแก่ทุกชนชั้น ทุกเพศ ทุกวัย และทุกโรค โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็กและผู้สูงอายุ ให้หายจากโรคภัย มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นเนื่องในวโรกาสมหามงคล สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระชนมายุครบ … Read more

ค่ายอิคคิวซัง 1 ปีที่ 5 (2560-2561) ภาคกลาง

ค่ายอิคคิวซัง 1 ปีที่ 5 (2560-2561) ภาคกลาง               มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี จัดค่ายอิคคิวซัง 1 เรื่อง Arduino Programming Basic Course ระหว่างวันที่ 1 – 3 ธันวาคม 2560 ณ โรงเรียนวัดไผ่ดำ จ.สิงห์บุรี             มีวัตถุประสงค์เพื่ออบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร ์ในการทำโครงงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ต่อไป             ซึ่งกิจกรรมค่ายอิคคิวซังดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งโครงการพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวม 73 รูป/คน ประกอบด้วย คณะครู … Read more