TH  |  EN

2 นักวิจัยไทย ในโครงการตามพระราชดำริฯ ร่วมปฏิบัติภารกิจ สำรวจ “ขั้วโลกใต้”

2 นักวิจัยไทย ในโครงการตามพระราชดำริฯ ร่วมปฏิบัติภารกิจ สำรวจ “ขั้วโลกใต้” 1. เรือโท ดร. ชนะ สินทรัพย์วโรดมอาจารย์และนักวิจัยภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่      ได้รับคัดเลือกให้เดินทางไปปฏิบัติภารกิจวิจัย ณ ทวีปแอนตาร์กติกา ในโครงการความร่วมมือไทย-ไอซ์คิวบ์ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เดินทางถึงสถานีวิจัยที่ขั้วโลกใต้ เมื่อวันอังคารที่ 12 ธันวาคม 2566 เข้าพักที่อาคาร Amundsen Scott South Pole Station ณ ขั้วโลกใต้ อาคาร Amundsen Scott South Pole Station ภายในอาคาร Amundsen Scott South Pole Station ภายในอาคาร Amundsen Scott South Pole Station   เยี่ยมชมหอปฏิบัติการไอซ์คิวป์ (IceCube Laboratory) ที่ตั้งอยู่ที่บริเวณสถานีวิจัยอมันด์เซ่น สก็อตต์ ที่ขั้วโลกใต้   … Read more

2 นักวิจัยจากจุฬาฯ ลุยอาร์กติกถึงละติจูด 90 เหตุน้ำแข็งละลาย

2 นักวิจัยจากจุฬาฯ ลุยอาร์กติกถึงละติจูด 90 เหตุน้ำแข็งละลาย       2 ทีมนักวิจัยไทยจากจุฬาฯ ร่วมสำรวจอาร์กติก (ขั้วโลกเหนือ) กับอีก 100 ชีวิตบนเรือตัดน้ำแข็ง “ซูหลง” ของจีน 3 เดือน ตะลุยถึงณ ละติจูด 90 องศาได้สำเร็จ บ่งชี้โลกร้อนกระทบน้ำแข็งละลาย วิจัยไมโครพลาสติกวันนี้ (24 พ.ย.2566) ผู้สื่อข่าวรายงาน 2 นักวิจัยไทยจากจุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย ดร.สุจารี บุรีกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วย นายอานุภาพ พานิชผล นักวิจัยจากสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ ได้เดินทางไปอาร์กติก (ขั้วโลกเหนือ)     ภายใต้โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของมูลนิธิเทคโนโลยีสาร สนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี     โครงการดังกล่าว นักวิจัยไทยได้ร่วมกับคณะสำรวจอาร์กติกจากประเทศจีนรุ่นที่ … Read more

นักวิจัยไทยเดินทางเข้าร่วมการวิจัยอาร์กติกทางเรือ พ.ศ.2566

นักวิจัยไทยเดินทางเข้าร่วมการวิจัยอาร์กติกทางเรือ พ.ศ.2566 ภาพนักวิจัย : ดร. สุจารี บุรีกุล (ซ้าย) และนายอานุภาพ พานิชผล (ขวา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทางเข้าร่วมการวิจัยอาร์กติกทางเรือ (Arctic Research Cruise) ร่วมกับสถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งจีน (PRIC) และศ.ดร. สุชนา ชวนิชย์(กลาง) ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งในนักวิจัยไทยที่เคยเดินทางรวมคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกแห่งจีน Chinese National Antarctic Research Expedition ชื่อย่อ CHINARE ในปี 2557 และเป็นกรรมการในคณะภาคีวิทยาศาสตร์ขั้วโลกแห่งประเทศไทย       เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 นักวิจัยไทยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ภายใต้มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้แก่ ดร. สุจารี บุรีกุล อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ และนายอานุภาพ … Read more

ชีวิตนักวิจัยไทยที่ขั้วโลกใต้ 2559

ชีวิตนักวิจัยไทยที่ขั้วโลกใต้ 2559      ปี 2558 ศาสตราจารย์ ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ อาจารย์จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และนายปฐพร เกื้อนุ้ย นิสิตปริญญาเอก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สองนักวิจัยจากประเทศไทย รูปที่ 1 ทีมนักวิจัยจากประเทศไทยถ่ายรูปบริเวณป้ายของสถานีวิจัยสาธารณรัฐประชาชนจีน รูปที่ 2 ทีมนักวิจัยจากประเทศไทย      ได้รับคัดเลือกให้ร่วมสำรวจขั้วโลกใต้กับทีมนักวิจัยขั้วโลกของสาธารณรัฐประชาชนจีน (Chinese Arctic and Antarctic Administration (CCA)) ณ สถานีวิจัยเกรทวอลล์ (Great Wall Station) ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะคิงจอร์จ (King George Island) บริเวณคาบสมุทรแอนตาร์กติก รูปที่ 3 รูปที่ 3 สถานีวิจัยเกรทวอลล์ (Great Wall Station)      เป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือนเริ่มตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม … Read more

ทำไมสนใจทำวิจัยที่ทวีปแอนตาร์กติก

ทำไมสนใจทำวิจัยที่ทวีปแอนตาร์กติก        นักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกต่างก็เดินทางไปทวีปแอนตาร์กติก เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ บรรยากาศ ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์ทางทะเล ธรณีวิทยา นิเวศวิทยา และอื่นๆ อีกมาก เนื่องจากทวีปแอนตาร์กติกเป็นทวีปที่อยู่ล้อมรอบขั้วโลกใต้ โดยพื้นที่เกือบทั้งหมดปกคลุมด้วยน้ำแข็งตลอดปี เป็นพื้นที่บนผิวโลกที่แยกจากทวีปอื่น ห่างไกล หนาวเย็น ปราศจากมนุษย์ที่อาศัยอย่างถาวรจึงมีสภาพแวดล้อมที่บริสุทธิ์     นักวิจัยไทยในโครงการวิจัยขั้วโลก รุ่นที่ 1 พ.ศ.2557     รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรฤทัย ภิญญาคง สองนักวิทยาศาสตร์ไทยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกแห่งจีนครั้งที่ 30 (CHINARE-30: 30th Chinese Antarctic Research Expedition) ทำการศึกษาวิจัย ณ สถานีวิจัยเกรทวอลล์ (Great Wall Station) ระหว่าง 1 มกราคม ถึง 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. … Read more