วิทย์ไมตรีไทย-จีน ไทยโทคาแมค-1 (Thailand Tokamak-1: TT-1) เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันเครื่องแรกของไทย และความก้าวหน้าการพัฒนาเครื่องโทคาแมคในจีน
เครดิต : วารสารวิทย์ไมตรีไทย-จีน_สค66.pdf (stsbeijing.org)
เครดิต : วารสารวิทย์ไมตรีไทย-จีน_สค66.pdf (stsbeijing.org)
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน เป็นประธานวางศิลาฤกษ์อาคารปฏิบัติการเครื่องโทคาแมค 27 พฤศจิกายน 2563 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน เป็นประธานวางศิลาฤกษ์อาคารปฏิบัติการเครื่องโทคาแมค และทอดพระเนตรกิจกรรมการดำเนินงาน และความก้าวหน้าของสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ณ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานใหญ่ อำเภอองครักษ์จังหวัดนครนายก เป็นการส่วนพระองค์ อาคารปฏิบัติการเครื่องโทคาแมคแห่งนี้ เป็นอาคารเพื่อรองรับการติดตั้งเครื่องโทคาแมครุ่น HT-6M ซึ่งสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม หรือ สทน. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทยจำนวน 214 ล้านบาท เพื่อพัฒนาเครื่องโทคาแมคของไทย จากชิ้นส่วนหลักของเครื่องโทคาแมค HT-6M และระบบสนับสนุนของเครื่องโทคาแมค รวมทั้ง ยังได้รับสนับสนุนงบประมาณแผ่นดินจำนวนประมาณ 100 ล้านบาท ประกอบด้วย งบประมาณเพื่อพัฒนาระบบวิศวกรรมต่อยอดและนวัตกรรมสำหรับเครื่องโทคาแมคจำนวน 54 ล้านบาท และงบประมาณสำหรับการก่อสร้างอาคารปฏิบัติการโทคาแมค อีกจำนวน 46 ล้านบาทเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 2 ชั้น … Read more
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จ ฯ ไปทอดพระเนตรความก้าวหน้าของสถานีตรวจวัดนิวตริโนใต้ดินณ เมือง Jiangmen (การทดลอง JUNO) https://www.youtube.com/watch?v=L6WEprVa7b4&ab_channel=SUTnews เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ ฯ ไปทอดพระเนตรความก้าวหน้าของสถานีตรวจวัดนิวตริโนใต้ดิน ณ เมือง Jiangmen (การทดลอง JUNO) ณ เมือง Jiangmen มณฑล Guangdong สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมี ศ.พิเศษ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย ศ. Yifang Wang ผู้อำนวยการสถาบันฟิสิกส์พลังงานสูง สาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้แทนหน่วยงานภาคีความร่วมมือไทย-JUNO และผู้แทนมูลนิธิ สอวน. ร่วมเฝ้า ฯ รับเสด็จ … Read more
เครดิต : วารสารวิทย์ไมตรีไทย-จีน มิถุนายน 2566 – ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง (stsbeijing.org)
การสนับสนุนบุคคลไปศึกษาระดับปริญญโท-ปริญญาเอก ณ UCAS สำนักงาน ก.พ.ทำความร่วมมือกับ UCASที่จะสนับสนุนบุคคลไปศึกษาระดับปริญญาโท-ปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ UCASปัจจุบันมีผู้รับทุน รวมทั้งสิ้น 17 คน จบการศึกษาระดับปริญญาเอกกลับมาปฏิบัติงานในประเทศแล้ว 5 คน ดังนี้ ชื่อ: นายวราวุฒิ ศุภมิตรมงคล สาขา : Management Science and Engineering (ด้าน Data mining) สถาบัน : Research Center on Fictitious Economy and Data Science สถานที่ทำงานปัจจุบัน: สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตำแหน่ง นักวิจัย ชื่อ: นายฐนวรรธน์ นิยะโมสถ … Read more
ภาคีความร่วมมือไทย-จูโน ภาคีความร่วมมือไทย-จูโน เป็นอีกหนึ่งโครงการที่รับสนองพระราชดำริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของชาติโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างทั้งสามสถาบันของไทยกับสถาบันฟิสิกส์พลังงานสูง (Institute of High Energy Physics) หรือ IHEP ในการทดลอง Jiangmen Underground Neutrino Observatory หรือ JUNO ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560 ณ IHEP กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทอดพระเนตรต้นแบบ photomultiplier tube ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 นิ้ว ที่ใช้ในการทดลอง JUNO (จากซ้ายมาขวา) … Read more
ITER: International Fusion Energy Organization รูปที่ 1: ดวงอาทิตย์อาศัยพลังงานฟิวชัน มนุษย์เราเฝ้ามองเห็นดวงอาทิตย์มาเป็นเวลาหลายหมื่นปี ความฝันของมนุษย์อย่างหนึ่งคือการสร้างดวงอาทิตย์บนโลกเพื่อเป็นแหล่งพลังงานที่ไม่สิ้นสุดของเรา แนวความคิดอันสุดแสนอัศจรรย์และท้าทายนี้สร้างแรงบันดาลใจให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจำนวนมากให้ทุ่มเทความรู้ความสามารถในการพัฒนาพลังงานที่ไม่สิ้นสุดนี้หรือที่เรียกอีกอย่างว่า “พลังงานฟิวชัน” มนุษย์ได้รู้จักและเรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานฟิวชันมาร่วม 1 ศตวรรษ มีการศึกษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในหลายมุมโลก ก่อให้เกิดการเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมนิวเคลียสอุณหภูมิสูงที่มากขึ้นเรื่อยๆและเข้าใกล้การพัฒนาไปสู่การใช้งานจริงมากขึ้นเรื่อยๆ ในหลักการนั้นพลังงานฟิวชันเกิดจากปฏิกิริยาการหลอมรวมนิวเคลียสหรือที่เรียกว่า “พลาสมา” โดยนิวเคลียสของธาตุขนาดเบารวมตัวกันเป็นนิวเคลียสของธาตุที่มีขนาดหนักขึ้น และในระหว่างทางจะมีการปลดปล่อยพลังงานจำนวมหาศาลออกมาด้วย โดยทั่วไปแล้วปฏิกิริยาฟิวชันจะปลดปล่อยพลังงานมากกว่าปฏิกิริยาเคมีทั่วไปหลายล้านเท่าเลยทีเดียว ตัวอย่างของการเกิดพลังงานฟิวชันในธรรมชาติ คือ การหลอมรวมของไฮโดรเจนในดวงอาทิตย์นั้นเอง ซึ่งพลังงานฟิวชันนี้ได้ขับเคลื่อนดวงอาทิตย์ให้ส่องสว่างและให้ความอบอุ่นกับโลกของเราและเหล่าดาวเคราะห์บริวารมานานหลายพันล้านปี จุดเด่นของพลังงานฟิวชันคือไม่มีการปล่อยก็าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศจึงถือว่าเป็นพลังงานสะอาดที่เหมาะสมกับธรรมชาติ และมีข้อดีอีกอย่างคือไม่มีกากกัมตรังสีหลงเหลือให้ต้องจัดการจึงมีความสะดวกและปลอดภัยสูง อีกทั้งเชื้อเพลิงก็มีอยู่เป็นจำนวนมากและสามารถหาได้ทั่วไปจากน้ำทะเล การพัฒนาพลังงานฟิวชันเพื่อไปสู่โรงไฟฟ้าฟิวชันนั้นเกิดขึ้นตาม 4 ขั้นตอนได้แก่ ก.) การกำเนิดพลาสมา หรือ กระบวนการแปลงจากสถานะแก๊สสู่สถานะพลาสมา ซึ่งอาศัยกระบวนการแตกตัวของอะตอมไปเป็นไอออนของธาตุนั้นเอง ข.) การเพิ่มอุณหภูมิของพลาสมาให้สูงขึ้น กระทั่งได้รับพลังงานมากพอที่จะเอาชนะแรงผลักระหว่างนิวเคลียสของกันเองได้ ค.) กระบวนการหลอมรวมของนิวเคลียสให้กลายเป็นนิวเคลียสที่หนักกว่าเดิม และเป็นขั้นตอนที่เกิดการปลดปล่อยพลังงาน ง.) การแปลงพลังงานที่ได้ไปเป็นพลังงานไฟฟ้า สองขั้นตอนแรก จะต้องใช้พลังงานป้อนเข้าจากภายนอก ส่วนขั้นตอนที่สามจึงเป็นขั้นตอนการผลิตพลังงาน ดุลยภาพเชิงพลังงานเกิดเมื่อพลังงานที่ผลิตได้ (จากขั้นตอนที่สาม) เท่ากันกับพลังงานที่ต้องใช้ … Read more
ความร่วมมือของสถาบันวิจัย-สถาบันการศึกษาไทยกับ CAS . ในการสร้างความสัมพันธ์ไทยและจีน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีสถาบันวิจัย-สถาบันการศึกษาของไทยทำความร่วมมือกับสถาบันวิจัยของ CAS ในด้านการพัฒนาบุคลากร แลกเปลี่ยนนักวิจัย องค์ความรู้ ตลอดจนร่วมกันโครงการการวิจัยร่วมกัน ตัวอย่างความร่วมมือโครงการวิจัย โครงการระบบแปลภาษาอัตโนมัติระหว่างภาษาไทยและภาษาจีน เป็นโครงการระหว่างศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. และ Institute of Computing (ICT), CAS RADI-GISTDA โครงการการใช้ประโยชน์จากข้อมูลดาวเทียมของฝ่ายจีนและไทย เป็นโครงการระหว่างสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และ Institute of Remote Sensing and Digital Earth (RADI)
โครงการความร่วมมือไทย – สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ตามพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระราชดำริให้ศึกษาแนวทางความร่วมมือ เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ โดยขยายความสัมพันธ์ทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยที่ยังมีความขาดแคลนอยู่ หน่วยงานร่วมดำเนินการ สำนักงาน ก.พ. ได้สนองพระราชดำริเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศทั้งสองโดยจัดให้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือฯ ดังกล่าวระหว่างสำนักงานก.พ.และ Graduate University of the Chinese Academy of Sciences (GUCAS) (ในปี พ.ศ. 2552 กูแคสได้เปลี่ยนชื่อเป็นยูแคส (UCAS : University of Chinese Academy of Sciences)) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินเยือน University of Chinese Academy of Sciences (UCAS) ครั้งแรกในปี พ.ศ.2548 และทรงประทับเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือ (MoU) ระหว่างสำนักงาน ก.พ. และ UCAS … Read more
เครดิต : วารสารวิทย์ไมตรีไทย-จีน เมษายน 2565 – ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง (stsbeijing.org)