TH  |  EN

การดำเนินงานด้านเครือข่าย (Collaborative network) ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน

  การดำเนินงานด้านเครือข่าย (Collaborative network) ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน           การดำเนินงานด้านเครือข่ายใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง จังหวัดแพร่จังหวัดน่าน จังหวัดลำพูน จังหวัดพะเยาและจังหวัด แม่ฮ่องสอน โดยศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลก ศีรษะฯ เป็นศูนย์กลางในการประสานงานการรักษาผู้ป่วย ภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการบนใบหน้าและ กะโหลกศีรษะในจังหวัดเชียงใหม่และ 8 จังหวัดภาคเหนือ ตอนบน มีจุดมุ่งหมายที่ต้องการสร้างเครือข่ายให้เกิด ความร่วมมืออย่างมั่นคงและยั่งยืน “Sustainable Col- laborative Network” โดยทำการสร้างทีมการรักษาแบบ สหสาขาวิชาชีพ จากความร่วมมือกันของโรงพยาบาลและ บุคลากรในเครือข่าย ทำให้ในปัจจุบันมีสหสาขาวิชาชีพที่ ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่เพื่อให้ได้รับ การรักษาที่เหมาะสมและครบกระบวนการจำนวนทั้งสิ้น 112 คน และมีโรงพยาบาลเครือข่ายครอบคลุม 8 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน การดำเนินงานการให้บริการผู้ป่วยของศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะฯ การให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยมีการทำงานแบบ “Several … Read more

โครงการศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โครงการศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่      สืบเนื่องจากระหว่างที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน เปิดงานนิทรรศการ CAS Innovation Expo (Bangkok) 2018 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒชัย องคมนตรีและนายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่พร้อมด้วย ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและ เลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ ที่ปรึกษาและนักวิจัยอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) ได้นำความก้าวหน้าผลการดำเนินงานของเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 3 มิติแบบเคลื่อนย้ายได้ (MobiScan) ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขึ้นกราบบังคมทูลสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทราบ และทรงมีพระราชกระแสว่าควรจัดตั้งเป็น “ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ” ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สวทช. และมูลนิธิฯ ทำนองเดียวกับที่เคยจัดตั้ง “ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ … Read more

นาโนเทค สวทช. : 18 ปี ขับเคลื่อนภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย

  นาโนเทค สวทช. : 18 ปี ขับเคลื่อนภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย      ภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย (Thailand Biomedical Engineering Consortium) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2548 เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อการพัฒนาเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering: BME) ซึ่งเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ทั้งทางด้านชีววิทยา วัสดุศาสตร์ นาโนเทคโนโลยี วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุข การฟื้นฟูสมรรถภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย โดยภาคี BME ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลการศึกษาวิจัย การเรียนการสอน การพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐาน สร้างเครือข่ายการวิจัย ลดความซ้ำซ้อนของการลงทุนด้านเครื่องมือและพัฒนากำลังคนร่วมกันระหว่างภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทยศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ เป็นประธานกรรมการภาคีวิศกรรมชีวการแพทย์ไทย โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย สมาชิกภาคี BME เป็นหน่วยงานจากมหาวิทยาลัย หน่วยงานและสถาบันวิจัย รวมจำนวนทั้งสิ้น 26 แห่ง โดยมีการจัดประชุมคณะกรรมการภาคี BME … Read more

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทอดพระเนตรความก้าวหน้าโครงการเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติแบบเคลื่อนย้ายได้ หรือ โมบีสแกน ที่พระราชทานให้ศูนย์ตะวันฉาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทอดพระเนตรความก้าวหน้าโครงการเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติแบบเคลื่อนย้ายได้ หรือ โมบีสแกน ที่พระราชทานให้ศูนย์ตะวันฉาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น      เมื่อเวลา ๑๔.๐๐ น. วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๕ : สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยัง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทอดพระเนตรความก้าวหน้าโครงการเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติแบบเคลื่อนย้ายได้ หรือ โมบีสแกน (MobiiScan) ที่พระราชทานให้ศูนย์ตะวันฉาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี นายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.ดร.ทพญ.วรานุช ปิติพัฒน์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.นพ. อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดําริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ … Read more

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรง เปิด “ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้า ฯ | 65-01-14

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรง เปิด “ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้า ฯ      ณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๒.๓๐ น. : สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากหอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิด “ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” โดยมี นายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย นายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ศาสตราจารย์คลินิก นพ.นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) … Read more