TH  |  EN

โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในโครงการฯ ที่ผ่านการประเมินประจำปีการศึกษา 2565 เข้าร่วมพิธีรับตราพระราชทาน “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” จากผู้แทนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในโครงการฯ ที่ผ่านการประเมินประจำปีการศึกษา 2565 เข้าร่วมพิธีรับตราพระราชทาน“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” จากผู้แทนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2566 ณ อาคารพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า จ.ปทุมธานี      โดยในปีการศึกษา 2565 มีโรงเรียนผ่านการประเมินการต่ออายุตราพระราชทาน 7 แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนที่ผ่านการประเมิน ต่ออายุตราพระราชทานครั้งที่ 2 จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ โรงเรียนที่ผ่านการประเมิน ต่ออายุตราพระราชทานครั้งที่ 3 จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกูวิง โรงเรียนบากงพิทยา นิรันดรวิทยา และ ธรรมพิทยาคาร โรงเรียนที่ผ่านการประเมิน ต่ออายุตราพระราชทานครั้งที่ 4 จำนวน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่โรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา และ ส่งเสริมอิสลาม  

30 ระบบตัดน้ำตามหอนอนโรงเรียน โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี

30 ระบบตัดน้ำตามหอนอนโรงเรียน โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี https://www.youtube.com/watch?v=8gfzHCnh1e8&ab_channel=%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2 ชื่อโครงงาน ระบบตัดน้ำตามหอนอน ( Water Cutting System )ชื่อผู้จัดทำ นางสาวพรรษพรรษา บุญราช , นายสรายุทธ พัฒน์แป้น , นายศรัณยู ชัยชนะครูที่ปรึกษา นายนพดล สุทธิมาสถานที่ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานีบทคัดย่อเนื่องจากโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานีเป็นโรงเรียนประจำ จึงต้องมีระบบการจ่ายน้ำที่เป็นเวลา แต่ระหว่างช่วงเวลาจ่ายน้ำนี้บางหอนอนอาจมีน้ำเพียงพอต่อการใช้แล้วแต่ไม่ได้ปิดน้ำขณะที่นักเรียนไม่ได้อยู่ที่หอนอน ทำให้เกิดปัญหาขึ้น คือปัญหาการขาดแคลนน้ำหรือน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภคและปัญหาน้ำท่วมท่อระบายน้ำทำให้การระบายน้ำขัดข้องเพราะระบายน้ำออกไม่ทัน ผู้จัดทำได้เล็งเห็นปัญหานี้ว่าควรจะนำมาแก้ไข จึงเป็นที่มาของโครงงานระบบตัดน้ำหอนอนอัตโนมัติ 

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการสัมภาษณ์เพื่อรับทุนการศึกษาไปศึกษาวิชา ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและการออกแบบแห่งสิงคโปร์ (Singapore University of Technology and Design : SUTD) สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ (ค.ศ. ๒๐๒๓) ภาคเรียนที่ ๒ ระดับปริญญาเอก หลักสูตรภาษาอังกฤษ และปรับแผนการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนการศึกษาไปศึกษาวิชา ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและการออกแบบแห่งสิงคโปร์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ ภาคเรียนที่ ๒ ระดับปริญญาเอก หลักสูตรภาษาอังกฤษ

  ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการสัมภาษณ์ เพื่อรับทุนการศึกษาไปศึกษาวิชา ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและการออกแบบแห่งสิงคโปร์ (Singapore University of Technology and Design : SUTD) สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ (ค.ศ. ๒๐๒๓) ภาคเรียนที่ ๒ ระดับปริญญาเอก หลักสูตรภาษาอังกฤษและปรับแผนการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนการศึกษาไปศึกษาวิชา ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและการออกแบบแห่งสิงคโปร์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ ภาคเรียนที่ ๒ ระดับปริญญาเอก หลักสูตรภาษาอังกฤษ      ตามที่มีประกาศมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๖ เรื่อง รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนการศึกษาไปศึกษาวิชา ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและการออกแบบแห่งสิงคโปร์ (Singapore University of Technology and Design : SUTD) สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ (ค.ศ. … Read more

31 รถไฟฟ้าอัจฉริยะ โครงการ 2 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารีฯ ลำปาง

31 รถไฟฟ้าอัจฉริยะ โครงการ 2 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารีฯ ลำปาง 1. ชื่อโครงงาน รถฟฟ้าอัจฉริยะ smart electric train 2. รายชื่อผู้จัดทำโครงงาน ชื่อ-สกุล นายนวิน แช่ว่าง ระดับขั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 ชื่อ-สกุล นายไกรวิชญ์ แซ่ลี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 ชื่อ-สกุล นางสาวปิ่นดาว แซ่หาง ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 ชื่อ-สกุล นางสาวธัญชนก แปงสุข ระดับขั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 อาจารย์ที่ปรึกษา 1) ชื่อ-สกุล นายวีรศักดิ์ เป้รอด สอนวิชา คอมพิวเตอร์ 2) ชื่อ-สกุล นางสาวมติกาใจธรรม สอนวิชา ฟิสิกส์ 3. บทคัดย่อ รถฟฟ้าอัจฉริยะ เป็นผลผลิตที่เกิดจาก แรงบันดาลใจจากกระแสรักษ์โลก … Read more

32 ตู้เพาะเห็ดนางฟ้าอัตโนมัติ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 22

32 ตู้เพาะเห็ดนางฟ้าอัตโนมัติ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 22

33 ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ โรงเรียน มัธยมป่ากลาง

33 ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ โรงเรียน มัธยมป่ากลาง https://www.youtube.com/watch?v=HxrCB6lbrsU&ab_channel=%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C

34 เซ็นเซอร์ควบคุมการเปิด – ปิดไฟอัจฉริยะ ชัยพิทยพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนา (จารุวัฒนานุกูล ท่าพระ)

34 เซ็นเซอร์ควบคุมการเปิด – ปิดไฟอัจฉริยะ ชัยพิทยพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนา (จารุวัฒนานุกูล ท่าพระ) ชื่อวิจัย : เซ็นเซอร์ควบคุมการเปิด – ปิดไฟอัจฉริยะ (Smart light control on/off sensor)รายชื่อผู้จัดทำโครงงาน :1.) เด็กชายสิริวิชญ์ หงษ์ห้า2.) เด็กชายวรวัชร์ ชุติกลรังษี3.) เต็กหญิงที่มาพร เพ็ชรบูรณ์ครูที่ปรึกษาโครงงาน :นายศตวรรษ เหล่าราชนางสาวสยพิณ ทองเกื้อสถานที่ทำงาน : โรงเรียนชัยพิทยพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนา (จารุวัฒนานุกูล ท่พระ)บทคัดย่อโลกในยุคปัจจุบันล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาพลังงานในการดำเนินชีวิต และมีอัตราความต้องการเพิ่มสูงขึ้นทุกปีตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามจากช้อมูลพบว่าแหล่งพลังงานที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป เช่นถ่านหิน ยิ่งใช้สอยมากที่จะทำให้ทรัพยากรลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ และอาจจะหมดไปในอนาคตอันใกล้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นสาเหตุหนึ่งมาจากการใช้พลังงานที่มเฟือย เช่น การเปิดหลอดไฟส่องสว่างในห้องที่ไม่มีคนอยู่ หรือการเปิดไฟส่องสว่างตามทางเดินภายในอาคารเรียนที่ไม่มีผู้คนสัญจร ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดไฟฟ้าลัดวงและทำให้เกิดเพลิงไหม้จนด้รับความหายกับอาคารได้การทำระบบควบคุมการเปิด – ปิดไฟอัจฉริยะ โดยพัฒนาห้ระบบเซ็นเซอร์สามรถนับจำนวนคนที่เข้าในห้องเรียน และส่งสัญญาณไปควบคุมให้สวิตซ์สามารถปิด – ปิตไฟ และประมวลผลได้โดยอันมัติจะช่วยลดปริมาณการใช้ไฟของหน่วยงานได้ 

35 ชวน KIDs พิชิตยะ บ้านด้ายเทพกาญจนาอุปถัมภ์

35 ชวน KIDs พิชิตยะ บ้านด้ายเทพกาญจนาอุปถัมภ์ ชื่อโครงงาน ชวน KIDs พิชิตยะ โรงเรียน บ้านด้ายเทพกาญจนาอุปถัมภ์ ผู้ทำโครงงาน วสันต์ นาใจ, อภิญญา ปาละอิน, รสิกา โกเมน, กัญญา นามหลวง อาจารย์ที่ปรึกษา นายวัลลภ เตชะปิตุ, นางสรัลชนา ก้างออนตา คำสำคัญ บทคัดย่อ เนื่องจาก “ขยะ” เป็นปัญหาหลักของโรงเรียนบ้านด้ายเทพกาญจนาอุปถัมภ์โรงเรียนจึงมีมาตรการในการลดปริมาณขยะในแต่ละวันของโรงเรียน โดยวิธีการคัดแยกขยะที่สามารถนำกลับมารีไซเคิล หรือเปลี่ยนจากขยะเป็นเงินเพื่อช่วยลดปริมาณขยะที่จะต้องทิ้ง ผ่านกลไกการบริหารจัดการของงานสภานักเรียนซึ่งจากการดำเนินกิจกรรมคัดแยกขยะ นักเรียนโรงเรียนบ้านด้ายเทพกาญจนาอุปถัมภ์ส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในกิจกรรมดังกล่าวเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่ากิจกรรมคัดแยกขยะของโรงเรียนจะได้รับความร่วมมือและประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย แต่ยังมีปัญหาปลีกย่อยต่าง ๆ ตามมา เช่นปัญหาการตรวจเช็คปริมาณขยะที่ล้นถังบ่อยครั้งปัญหานี้เราจะนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีของ Smart Phone มาแก้ปัญหา ดังนั้นกลุ่มของข้าพเจ้าจึงคิดทำโครงงาน KIDS พิชิตขยะ ขึ้นมา โดยมีจุดประสงค์ 1. เพื่อสร้างเครื่องมือเพื่อการตรวจเช็คปริมาณขยะจากถังขยะด้วย บอร์ดKidBright 2. เพื่อสร้างความสะดวก รวดเร็วและความปลอดภัยในเช็คปริมาณขยะ 3. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกิจกรรมคัดแยกขยะของโรงเรียน … Read more

นักวิจัยไทยเดินทางเข้าร่วมการวิจัยอาร์กติกทางเรือ พ.ศ.2566

นักวิจัยไทยเดินทางเข้าร่วมการวิจัยอาร์กติกทางเรือ พ.ศ.2566 ภาพนักวิจัย : ดร. สุจารี บุรีกุล (ซ้าย) และนายอานุภาพ พานิชผล (ขวา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทางเข้าร่วมการวิจัยอาร์กติกทางเรือ (Arctic Research Cruise) ร่วมกับสถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งจีน (PRIC) และศ.ดร. สุชนา ชวนิชย์(กลาง) ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งในนักวิจัยไทยที่เคยเดินทางรวมคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกแห่งจีน Chinese National Antarctic Research Expedition ชื่อย่อ CHINARE ในปี 2557 และเป็นกรรมการในคณะภาคีวิทยาศาสตร์ขั้วโลกแห่งประเทศไทย       เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 นักวิจัยไทยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ภายใต้มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้แก่ ดร. สุจารี บุรีกุล อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ และนายอานุภาพ … Read more

กิจกรรมนิเทศการดำเนินงานโครงการบ้านนักวิทย์(ระดับ ป.1)

กิจกรรมนิเทศการดำเนินงานโครงการบ้านนักวิทย์(ระดับ ป.1)      มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี จัดกิจกรรมการนิเทศและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย (แบบออนไลน์) สำหรับครูระดับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ในวันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อนิเทศ ติดตาม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยในโรงเรียน การจัดทำโครงงานเพื่อเตรียมการประเมินตราพระราชทาน และร่วมแก้ปัญหา อุปสรรค และหาแนวทางแก้ไข เพื่อให้สามารถดำเนินงานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยได้ตามแผนงานต่อไป กิจกรรมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 23 คน จาก 8 โรงเรียน โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ชนกพร ธีระกุล จากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ร่วมเป็นคณะวิทยากรในการจัดอบรมดังกล่าว