ความร่วมมือระหว่างสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (NIMT) และ ศูนย์เทคโนโลยีควอนตัม (CQT) ในการพัฒนานาฬิกาอะตอมเชิงแสง
หน่วยงานความร่วมมือ ความร่วมมือระหว่างสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (NIMT) และ ศูนย์เทคโนโลยีควอนตัม (CQT) ในการพัฒนานาฬิกาอะตอมเชิงแสง ภาพในห้องปฏิบัติการนาฬิกาอะตอมของ CQT วัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นนิยามของหน่วยวินาทีในอนาคตของประเทศไทย รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีควอนตัม โดย NIMT ใช้ไอออนของธาตุอิธเธอเบียม (Yb+) และ CQT ใช้ไอออนของธาตุลูทิเทียม (Lu+) ประโยชน์และผลที่ประเทศไทยได้รับ เป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดนิยามของหน่วยวินาที งานวิจัยไทยเป็นที่ยอมรับในเวทีนานาชาติ สร้างนักวิจัยและนักศึกษาไทยที่มีคุณภาพและมีศักยภาพในการทำงานวิจัยเทียบเคียงสถาบันวิจัยชั้นนำ ความถี่ที่ได้จากนาฬิกาอะตอมเชิงแสงจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญให้กับประเทศไทย นำไปใช้งานในด้านการสื่อสารโทรคมนาคม (5G network) ระบบการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Financial Technology) ระบบโครงข่ายพิกัดหมุดหลักฐานแห่งชาติ เป็นต้