TH  |  EN

ติดตามผลการใช้งานระบบบริการการพบแพทย์ทางไกล (Telehealth) ในพื้นที่นำร่องของโครงการไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบ

  สวทช. ติดตามผลการใช้งานระบบบริการการพบแพทย์ทางไกล (Telehealth) ในพื้นที่นำร่องของโครงการไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบ    วันที่ 29 กันยายน 66 โดยสำนักงานประสานงานโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (HRH) ร่วมกับ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) และมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ดำเนินโครงการไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบ โดยจัดอบรมการใช้งานระบบบริการการพบแพทย์ทางไกล (Telehealth) ให้กับสุขศาลาพระราชทานห้องพยาบาลของโรงเรียน ตชด. และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) ในพื้นที่นำร่องของโครงการจำนวน 7 แห่ง โดยเปิดทดสอบใช้งานตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 – พฤษภาคม 2566 จากการติดตามผลการใช้งาน พบว่า รพ.สต.ห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และสุขศาลาพระราชทานของโรงเรียน ตชด. บ้านโป่งลึก จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องของระบบบริการการพบแพทย์ทางไกล (Telehealth) ยังมีปัญหาด้านการใช้งานระบบทางทีมวิจัยจึงดำเนินปรับปรุงแก้ไขให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป โดย มี ดร.กิตติ วงศ์ถาวราวัฒน์ ผอ. ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) … Read more

มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ สวทช. ภายใต้การสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) จัดอบรมหลักสูตรการทำโครงงานเกษตรอัฉริยะ (AI Coding for Smart Agriculture)

มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีร่วมกับ สวทช. ภายใต้การสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) จัดอบรมหลักสูตรการทำโครงงานเกษตรอัฉริยะ (AI Coding for Smart Agriculture) (วันที่ 27 กันยายน 2566): ดร.พัชร์ลิตา ฉัตรวริศพงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นประธานในพิธีมอบเงินสนับสนุนการทำโครงงานให้กับนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะด้านสะเต็มและโค้ดดิ้ง (STEM and Coding Skills) แก่เยาวชนในชนบท เพื่อก้าวสู่ยุวเกษตรกรอัจฉริยะในอุตสาหกรรมเกษตรแม่นยำ โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ภายใต้การสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) โดยมีโรงเรียนเป้าหมายภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิฯ ที่ผ่านการคัดเลือกข้อเสนอโครงงานด้านเกษตรอัตโนมัติเกษตรแม่นยำ จำนวน 46 โครงงาน จากโรงเรียน 31 แห่ง รวมจำนวนทั้งสิ้น 114 คน เข้าร่วมอบรมหลักสูตร “การทำโครงงานเกษตรอัฉริยะ (AI Coding for Smart Agriculture)” ระหว่างวันที่ 25-27 … Read more

กิจกรรม“คลินิกโครงงานวิจัยโลกทั้งระบบ สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ”

คลินิกสร้างโครงงานวิจัยและสื่ออย่างสร้างสรรค์ เพื่อสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นครั้งที่ 2     มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสำนักงานประสานงานโครงการตามพระราชดำริฯ (HRH) และงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท (SRS) โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิใจกระทิง จัดกิจกรรม“กิจกรรม “คลินิกสร้างโครงงานวิจัยและสื่ออย่างสร้างสรรค์ เพื่อสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น” ระหว่างวันที่ 19 – 21 กันยายน 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ “ดิจิทัลและวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น” วัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม (1) โรงเรียนได้นำเสนอข้อเสนอโครงงานวิจัยโลกทั้งระบบ โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำปรึกษา เพื่อแก้ไข ปรับปรุงข้อเสนอโครงงานฯ ก่อนของบประมาณสนับสนุนการทำโครงงานฯ ในลำดับต่อไป (2) อบรมแนวทางจัดทำสื่ออย่างสร้างสรรค์เพื่อสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น เพื่อนำเสนอประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นที่ตนค้นพบเผยแพร่สู่ชุมชนต่อไป โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แก่ พระอาจารย์ สามเณร ครู และนักเรียน จากโรงเรียนพระปริยัติธรรม โรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา ในโครงการตามพระราชดำริฯ ทั้งในรูปแบบ ออนไซต์ และออนไลน์ จำนวน … Read more

วิทย์ไมตรีไทย-จีน ไทยโทคาแมค-1 (Thailand Tokamak-1: TT-1) เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันเครื่องแรกของไทย และความก้าวหน้าการพัฒนาเครื่องโทคาแมคในจีน

เครดิต : วารสารวิทย์ไมตรีไทย-จีน_สค66.pdf (stsbeijing.org)

กรรมการและคณะทำงานมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เข้านิเทศงานและติดตามการดำเนินงานคนพิการของโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่

กรรมการและคณะทำมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีนิเทศงานและติดตามการดำเนินงานคนพิการของโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่     เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 กรรมการและคณะทำงานมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นำโดย นางสาววันทนีย์ พันธชาติ นางสาวอลิสา สุวรรณรัตน์ และนางสาวมนทกานติ์ ใหม่แท้ ได้ขอเข้านิเทศงานและติดตามการดำเนินงานโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสำหรับคนพิการของโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ โดยมี นางเสมอจิต ชูหอยทอง ผู้อำนวยการโรงเรียน นางสาวบัวเรียม พรมจีน รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารวิชาการ และคณะครูที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับและรายงานการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ โดยโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่มีการดำเนินงานหลายโครงการ ทั้งการดำเนินงานด้านการใช้ไอทีและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกช่วยในการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาทักษะการสื่อสารสำหรับนักเรียนที่มีข้อจำกัดในการสื่อสารด้วยการพูด การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ การส่งเสริมการเรียนการสอนโค้ดดิ้งสำหรับนักเรียนพิการ

การอบรม (ออนไลน์) หลักสูตร “สมรรถนะด้านการใช้อีคอมเมิร์ซ…เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ความเป็นมืออาชีพ”

การอบรม (ออนไลน์) หลักสูตร “สมรรถนะด้านการใช้อีคอมเมิร์ซ…เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ความเป็นมืออาชีพ”     มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จัดการอบรม (ออนไลน์) หลักสูตร “สมรรถนะด้านการใช้อีคอมเมิร์ซ…เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ความเป็นมืออาชีพ” ในวันอังคารที่ 12 กันยายน 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญและประโยชน์ของการทดสอบสมรรถนะทางด้านอีคอมเมิร์ซ ตามมาตรฐานของประเทศ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมรรถนะทางด้านอีคอมเมิร์ซ เพื่อเตรียมความพร้อมในการทดสอบตามมาตรฐานของประเทศสามารถเตรียมความพร้อมด้านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ในการจัดสอบออนไลน์ได้มีผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น 106 คน ประกอบด้วย ครูและนักเรียนเข้าอบรม 39 คนจาก 3 โรงเรียน และครูและเยาวชนจากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนในสถานพินิจเข้าอบรม 67 คน จาก 10 ศูนย์

กรรมการและคณะทำงานมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เข้านิเทศงานและติดตามการดำเนินงานโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสำหรับคนพิการของโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่

กรรมการและคณะทำมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเข้านิเทศงานและติดตามการดำเนินงานโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสำหรับคนพิการของโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่     เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566 เวลา 09.00 น. – 14.30 น. กรรมการและคณะทำมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นำโดย นางสาววันทนีย์ พันธชาติ นางสาวอลิสา สุวรรณรัตน์ และนางสาวมทกานติ์ ใหม่แท้ ได้ขอเข้านิเทศงานและติดตามการดำเนินงานโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสำหรับคนพิการของโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร โดยมี นายอัมรินทร์ พันธ์วิไล ผู้อำนวยการโรงเรียน นางสาวดวงเดือน คำมูลสุข รองผู้อำนวยการ และคณะครูที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับและร่วมรายงานการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ โดยโรงเรียนโสตอนุสารสุนทรมีการดำเนินงานหลายโครงการ อาทิเช่น การพัฒนาการอ่านและเขียนภาษาไทยด้วยบัตรภาพคำศัพท์พหุภาษา การดำเนินงานห้องเรียนไอที การดำเนินงานห้องคอมพิวเตอร์ การฝึกและแก้ไขการพูด การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และการส่งเสริมการเรียนการสอนโค้ดดิ้งพิการ

กรรมการและคณะทำงานมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เข้านิเทศงานและติดตามการดำเนินงานโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสำหรับคนพิการของโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่

กรรมการและคณะทำมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเข้านิเทศงานและติดตามการดำเนินงานโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสำหรับคนพิการของโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่     เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566 เวลา 14.30 น. – 16.30 น. กรรมการและคณะทำมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นำโดย นางสาววันทนีย์ พันธชาติ นางสาวอลิสา สุวรรณรัตน์ และนางสาวมทกานติ์ ใหม่แท้ ได้ขอเข้านิเทศงานและติดตามการดำเนินงานโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสำหรับคนพิการของโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นางสาวศิริวรรณ อ่อนเกตุ ครูชนาญการพิเศษ และคณะครูที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับและรายงานการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ โดยโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกช่วยในการจัดการเรียนการสอน การส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนตาบอด

กรรมการและคณะทำงานมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เข้านิเทศงานและติดตามการดำเนินงานโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสำหรับคนพิการของโรงเรียนกาวิละอนุกูล

กรรมการและคณะทำมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เข้านิเทศงานและติดตามการดำเนินงานโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสำหรับคนพิการของโรงเรียนกาวิละอนุกูล      เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 กรรมการและคณะทำมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นำโดย นางสาววันทนีย์ พันธชาติ นางสาวอลิสา สุวรรณรัตน์ และนางสาวมทกานติ์ ใหม่แท้ ได้ขอเข้านิเทศงานและติดตามการดำเนินงานโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสำหรับคนพิการของโรงเรียนกาวิละอนุกูล โดยมี วรเวช จันทรรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการทั้ง 4 ฝ่าย และคณะครูที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับและร่วมรายงานการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ    โดยโรงเรียนกาวิละอนุกูลมีการดำเนินงานหลายโครงการ ทั้งการดำเนินงานห้องเรียนไอที การดำเนินงานห้องคอมพิวเตอร์ การพัฒนาทักษะการสื่อสาร การฝึกและแก้ไขการพูด การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และการส่งเสริมการเรียนการสอนโค้ดดิ้งเพื่อพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและ/หรือออทิสติก

ค่าย 1 จุดประกายนวัตกรอาหารรุ่นเยาว์ฯ รุ่นที่ 4

 ค่าย 1 จุดประกายนวัตกรอาหารรุ่นเยาว์ฯ รุ่นที่ 4     มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จัดค่าย ๑ “จุดประกายนวัตกรอาหารรุ่นเยาว์สร้างสรรค์โครงงานวิทยาศาสตร์” ภายใต้โครงการบ่มเพาะเยาวชนในชนบทเป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ด้านนวัตกรรมอาหาร รุ่นที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2566 ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำโครงงานทางวิทยาศาสตร์อาหาร สร้างแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมอาหาร กระบวนการผลิตและการวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารเบื้องต้น ตลอดจนจัดทำข้อเสนอโครงงานเพื่อเตรียมส่งประกวด ได้ต่อไป กิจกรรมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมโครงการ 85 คน ประกอบด้วยครู 25 คน และ นักเรียน 60 คน จาก 12 โรงเรียน