TH  |  EN

โครงการพระราชทานความช่วยเหลือด้านการปฏิบัติการทดลองวิทยาศาสตร์ ให้แก่ โรงเรียนวัฒนธรรมชนเผ่าเด็กกำพร้าแขวงเวียงจันทน์ (หลัก 67) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

  โครงการพระราชทานความช่วยเหลือด้านการปฏิบัติการทดลองวิทยาศาสตร์ ให้แก่ โรงเรียนวัฒนธรรมชนเผ่าเด็กกำพร้าแขวงเวียงจันทน์ (หลัก 67) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ความเป็นมาโครงการ          สืบเนื่องจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชานุญาตให้ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ดำเนินโครงการพระราชทานความช่วยเหลือโรงเรียนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยเมื่อเดือนธันวาคม 2558 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ณ โรงเรียนวัฒนธรรมชนเผ่าเด็กกำพร้าแขวงเวียงจันทน์ (หลัก 67) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และมีพระราชกระแสรับสั่งว่าควรประสานงานกับหน่วยงานในประเทศไทย เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการปฏิบัติการทดลองวิทยาศาสตร์แก่ โรงเรียนหลัก 67 ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการโครงการฯ จึงได้ประสานงานกับ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ (กปร.) โครงการชลประทานอุดรธานี สำนักชลประทานที่ 5 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) หน่วยงานด้านการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย และโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีศักยภาพทางด้านการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว … Read more

กิจกรรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้าโครงการ “แม่ขนุน : การพัฒนาและขับเคลื่อน One Platform ส่งเสริมการซื้อ-ขายสินค้าและบริการ”

กิจกรรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้าโครงการ “แม่ขนุน : การพัฒนาและขับเคลื่อน One Platform ส่งเสริมการซื้อ-ขายสินค้าและบริการ”           มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดกิจกรรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้าโครงการ “แม่ขนุน : การพัฒนาและขับเคลื่อน One Platform ส่งเสริมการซื้อ-ขายสินค้าและบริการ” ต่อยอดจากโครงการส่งเสริมการใช้ไอซีทีสร้างรายได้ ในกลุ่มโรงเรียน ทสรช. และเรือนจำ/ทัณฑสถาน วันที่ 25 – 26 มกราคม 2566(ออนไลน์)มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปผลการดำเนินงานของปี 2565 และวางแผนดำเนินงานปี 2566 ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้า ของโรงเรียน เพื่อการขายออนไลน์และให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิดในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้า กิจกรรมดังกล่าวมีผู้เข้ารวมกิจกรรม 57 คน (ครู 24 คน, นักเรียน 22 คน, เจ้าหน้าที่เรือนจำ/ทัณฑสถาน 11 … Read more

อบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 เรื่อง “การจัดทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวด้วยบอร์ด KidBright

อบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 เรื่อง “การจัดทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวด้วยบอร์ด KidBright สร้างเมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2566   มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 เรื่อง “การจัดทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวด้วยบอร์ด KidBright โดยใช้วิทยาการข้อมูลมาช่วยในการพัฒนาโครงงาน” ระหว่างวันที่ 8 – 11 มกราคม 2566 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สวทช. จังหวัดปทุมธานี โดยการจัดอบรมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อ เป็นการพัฒนาความรู้และต่อยอดทักษะด้านวิทยาการข้อมูล (Data Science) ร่วมกับโค้ดดิ้งด้วยบอร์ด KidBright ให้แก่ครูและนักเรียนพิการ และเพื่อให้ครูและนักเรียนพิการได้นำความรู้ด้านวิทยาการข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาเพื่อตอบโจทย์ในการพัฒนาโครงงานสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวให้มีคุณค่าและเกิดประโยชน์ในการต่อยอดไปสู่การใช้งานจริง นอกจากนี้ครูผู้สอนสามารถนำความรู้ไปขยายผลในการจัดการเรียนการสอนนักเรียนพิการที่โรงเรียน โดยผลจากการดำเนินการอบรมให้กับโรงเรียนนำร่องในครั้งนี้จะใช้เป็นต้นแบบในการขยายผลความรู้ให้แก่ครูและนักเรียนพิการจากโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหวทั่วประเทศต่อไป Facebook | คลิก

นาโนเทค สวทช. : 18 ปี ขับเคลื่อนภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย

  นาโนเทค สวทช. : 18 ปี ขับเคลื่อนภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย      ภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย (Thailand Biomedical Engineering Consortium) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2548 เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อการพัฒนาเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering: BME) ซึ่งเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ทั้งทางด้านชีววิทยา วัสดุศาสตร์ นาโนเทคโนโลยี วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุข การฟื้นฟูสมรรถภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย โดยภาคี BME ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลการศึกษาวิจัย การเรียนการสอน การพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐาน สร้างเครือข่ายการวิจัย ลดความซ้ำซ้อนของการลงทุนด้านเครื่องมือและพัฒนากำลังคนร่วมกันระหว่างภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทยศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ เป็นประธานกรรมการภาคีวิศกรรมชีวการแพทย์ไทย โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย สมาชิกภาคี BME เป็นหน่วยงานจากมหาวิทยาลัย หน่วยงานและสถาบันวิจัย รวมจำนวนทั้งสิ้น 26 แห่ง โดยมีการจัดประชุมคณะกรรมการภาคี BME … Read more

ตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินงานโครงการของโรงเรียนกาวิละอนุกูล 2565

ตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินงานโครงการของโรงเรียนกาวิละอนุกูล 2565 สร้างเมื่อ: 22 ธันวาคม 2565 วันที่ 21 ธันวาคม 2565 คณะทำงานโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อคนพิการของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เข้าประชุมติดตามการดำเนินงานโครงการของโรงเรียนกาวิละอนุกูล จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายวรเวช จันทรรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะครูที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ โดยครูที่รับผิดชอบแต่ละโครงการได้นำเสนอผลการดำเนินงานในปี 2565 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 21 – 22 ธันวาคม 2565 คณะครูที่เกี่ยวข้องและคณะทำงานมูลนิธิฯ ได้ร่วมกันเตรียมกิจกรรมค่ายพัฒนาทักษะสื่อสารและการเรียนรู้สำหรับนักเรียนออทิสติกที่จะจัดขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคม 2565 ณ ไนท์ซาฟารีเชียงใหม่ Facebook | คลิก

ตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินงานโครงการของโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร 2565

ตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินงานโครงการของโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร 2565 สร้างเมื่อ: 20 ธันวาคม 2565    วันที่ 20 ธันวาคม 2565 เวลา 09.00 – 12.30 น. คณะทำงานโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อคนพิการของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เข้าประชุมติดตามการดำเนินงานโครงการของโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายอัมรินทร์ พันธ์วิไล ผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะครูที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ โดยครูที่รับผิดชอบแต่ละโครงการได้นำเสนอผลการดำเนินงานในปี 2565 เช่น โครงการบัตรภาพพหุภาษา โครงการส่งเสริมการเรียนโค้ดดิ้งด้วยบอร์ด KidBright โครงการฝึกพูด เป็นต้น โดยแต่ละโครงการมีผลการดำเนินงานที่ดี ผู้บริหารและครูให้ความใส่ใจในการดำเนินงานเป็นอย่างดี Facebook | คลิก

ตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินงานโครงการของโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ 2565

ตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินงานโครงการของโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ 2565 สร้างเมื่อ: 20 ธันวาคม 2565 วันที่ 20 ธันวาคม 2565 เวลา 13.00 – 17.00 น. คณะทำงานโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อคนพิการของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เข้าร่วมประชุมติดตามการดำเนินงานโครงการของโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ โดยมีนางสาวบัวเรียม พรมจีน รองผู้อำนวยการโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่และคณะครูที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับและนำเสนอผลการดำเนินงานของปี 2565 และเตรียมแผนการดำเนินงานโครงการของปี 2566 Facebook | คลิก

ตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินงานโครงการของโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือฯ จังหวัดเชียงใหม่ 2565

ตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินงานโครงการของโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือฯ จังหวัดเชียงใหม่ 2565 สร้างเมื่อ: 20 ธันวาคม 2565    เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2565 คณะทำงานโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อคนพิการของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เข้าประชุมติดตามผลการดำเนินงานโครงการของโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนางสาวศิริวรรณ อ่อนเกตุ ครูชำนาญการพิเศษ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการและคณะครูที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับและนำเสนอผลการดำเนินงานของปี 2565 และเตรียมแผนการดำเนินงานของปี 2566 Facebook | คลิก

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทอดพระเนตรความก้าวหน้าโครงการเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติแบบเคลื่อนย้ายได้ หรือ โมบีสแกน ที่พระราชทานให้ศูนย์ตะวันฉาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทอดพระเนตรความก้าวหน้าโครงการเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติแบบเคลื่อนย้ายได้ หรือ โมบีสแกน ที่พระราชทานให้ศูนย์ตะวันฉาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น      เมื่อเวลา ๑๔.๐๐ น. วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๕ : สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยัง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทอดพระเนตรความก้าวหน้าโครงการเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติแบบเคลื่อนย้ายได้ หรือ โมบีสแกน (MobiiScan) ที่พระราชทานให้ศูนย์ตะวันฉาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี นายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.ดร.ทพญ.วรานุช ปิติพัฒน์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.นพ. อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดําริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ … Read more

ค่าย 2 : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว และสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วย 3D Printer ณ โรงแรมญันนะตีย์ จ.สงขลา

ค่าย 2 : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว และสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วย 3D Printer

ณ โรงแรมญันนะตีย์ จ.สงขลา

   มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีได้ดำเนินกิจกรรม “ค่ายสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว และสร้างชิ้นงาน 3 มิติด้วย 3D Printer” ภายใต้โครงการพัฒนาทักษะด้าน อิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้จัดทำโครงงานหรือนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริมให้เกิดทักษะการคิด การแก้ปัญหา และเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำโครงงาน อันเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 จำนวน 3 ค่ายต่อเนื่อง แล้วจัดให้มีกิจกรรม Show & Share เป็นประจำทุกปีพร้อมทั้ง ส่งเสริมให้นักเรียนส่งโครงงานเข้าร่วมประกวดในเวทีต่าง ๆ และผลงานที่เกิดขึ้นจะสร้างโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาต่ออุดมศึกษาในโควตาพิเศษ ฝ่ายเลขานุการฯ กำหนดจัดการอบรมเชิงปฎิบัติการ “ค่าย 2 : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว และสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วย 3D Printer” ปีที่ 9 ประจำปีการศึกษา 2565 ให้แก่ครูและนักเรียนจากโรงเรียน ทสรช. ในพื้นที่ภาคใต้ และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในการอบรมครั้งนี้ในรูปแบบ Onsite ในวันที่ 23 – 25 กันยายน 2565 ณ โรงแรมญันนะตีย์หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยมี อาจารย์จิระศักดิ์ สุวรรณโณ ที่ปรึกษาโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวัตร ใจสุทธิ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาวิชาฟิสิกส์ และผู้ช่วยวิทยากร เป็นวิทยากรอบรมสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว และ อาจารย์กีรดิษ สายพัทลุง ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์ เป็นวิทยากรอบรม3D Printer ในครั้งนี้มีผู้อบรมทั้งหมด 133 คน รวม ครูและนักเรียน จาก 9 โรงเรียน

Read more