TH  |  EN

อบรมพัฒนาทักษะด้านภาษาไทย : การพัฒนาความสามารถในการอ่าน สำหรับกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดศรีสะเกษ

  อบรมพัฒนาทักษะด้านภาษาไทย : การพัฒนาความสามารถในการอ่าน สำหรับกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดศรีสะเกษ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ สถาบันภาษาไทยสิรินธร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดอบรมพัฒนาทักษะด้านภาษาไทย : การพัฒนาความสามารถในการอ่าน สำหรับกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 4 – 5 ตุลาคม 2562 ณ ห้องประชุม โรงเรียนศรีเกษตรวิทยา วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม ต.เมืองใต้ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษโดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาครูภาษาไทยในโรงเรียนพระปริยัติธรรม(จังหวัดศรีสะเกษ) ให้สามารถนำชุดบทเรียนเสริมการอ่านที่พัฒนาขึ้นจากจากสถาบันภาษาไทยสิรินธร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 171 เรื่อง ไปจัดกิจกรรมพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจให้กับนักเรียนมัธยมของตนเองได้อย่างถูกต้อง 2. เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในทักษะการอ่าน คือ • การอ่านจับรายละเอียด • การอ่านจับประเด็นหลักหรือสาระสำคัญของเรื่อง • การอ่านตีความโดยมุ่งหวังให้การพัฒนาความสามารถดังกล่าวเป็นการพัฒนารายบุคคลอย่างเป็นระบบ สามารถวัดประเมินได้ผลการดำเนินงานในครั้งนี้ พบว่า 1. โรงเรียนพระปริยัติธรรมในจังหวัดศรีสะเกษ เข้ารับการอบรมจำนวนทั้งสิ้น 9 โรงเรียน 2. มีครูผู้เข้ารับการอบรม … Read more

ติดตามงาน IT โรงเรียนพิการ ณ โรงเรียนเศรษฐเสถียร

ติดตามงาน IT โรงเรียนพิการ ณ โรงเรียนเศรษฐเสถียร สร้างเมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2566    เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 คณะทำงานโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อคนพิการของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ขอเข้าไปเยี่ยมชมและติดตามโครงการพัฒนาการอ่านและเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยินด้วยบัตรภาพคำศัพท์พหุภาษา และโครงการส่งเสริมการเรียนโค้ดดิ้งสำหรับนักเรียนพิการด้วยบอร์ด KidBright Facebook | คลิก

การดำเนินงานด้านเครือข่าย (Collaborative network) ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน

  การดำเนินงานด้านเครือข่าย (Collaborative network) ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน           การดำเนินงานด้านเครือข่ายใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง จังหวัดแพร่จังหวัดน่าน จังหวัดลำพูน จังหวัดพะเยาและจังหวัด แม่ฮ่องสอน โดยศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลก ศีรษะฯ เป็นศูนย์กลางในการประสานงานการรักษาผู้ป่วย ภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการบนใบหน้าและ กะโหลกศีรษะในจังหวัดเชียงใหม่และ 8 จังหวัดภาคเหนือ ตอนบน มีจุดมุ่งหมายที่ต้องการสร้างเครือข่ายให้เกิด ความร่วมมืออย่างมั่นคงและยั่งยืน “Sustainable Col- laborative Network” โดยทำการสร้างทีมการรักษาแบบ สหสาขาวิชาชีพ จากความร่วมมือกันของโรงพยาบาลและ บุคลากรในเครือข่าย ทำให้ในปัจจุบันมีสหสาขาวิชาชีพที่ ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่เพื่อให้ได้รับ การรักษาที่เหมาะสมและครบกระบวนการจำนวนทั้งสิ้น 112 คน และมีโรงพยาบาลเครือข่ายครอบคลุม 8 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน การดำเนินงานการให้บริการผู้ป่วยของศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะฯ การให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยมีการทำงานแบบ “Several … Read more

โครงการศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โครงการศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่      สืบเนื่องจากระหว่างที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน เปิดงานนิทรรศการ CAS Innovation Expo (Bangkok) 2018 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒชัย องคมนตรีและนายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่พร้อมด้วย ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและ เลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ ที่ปรึกษาและนักวิจัยอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) ได้นำความก้าวหน้าผลการดำเนินงานของเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 3 มิติแบบเคลื่อนย้ายได้ (MobiScan) ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขึ้นกราบบังคมทูลสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทราบ และทรงมีพระราชกระแสว่าควรจัดตั้งเป็น “ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ” ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สวทช. และมูลนิธิฯ ทำนองเดียวกับที่เคยจัดตั้ง “ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ … Read more

โครงการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ใน วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ราชอาณาจักรกัมพูชา

  โครงการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ใน วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ราชอาณาจักรกัมพูชา “ข้าพเจ้ารู้สึกพอใจที่โรงเรียนกำปงเฌอเตียลได้ทำงานมาได้ระยะหนึ่งกรรมการทั้งสองฝ่ายดำเนินการมาอย่างเป็นที่น่าพอใจ ความต้องการของข้าพเจ้าก็คือ ต้องการมีส่วนร่วมในการให้การศึกษาเยาวชนกัมพูชาซึ่งเป็นเยาวชนที่มีศักยภาพเป็นอย่างดี และถ้าได้การศึกษาเล่าเรียนและฝึกอบรมที่ดีแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเอง ต่อสังคมกัมพูชา และสังคมโลกสืบไป” พระราชดำรัส ที่พระราชทานไว้แก่คณะกรรมการดำเนินการคณะกรรมการดำเนินการ โครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ด้านการศึกษา ฝ่ายไทยและกัมพูชา วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ณ ห้องประชุมกรมราชองครักษ์ สวนจิตรลดา ด้วยสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างไทย-กัมพูชา และความสนพระราชหฤทัยในอารยธรรมเขมร เป็นเหตุให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรกัมพูชาหลายครั้ง ทุกครั้งชาวกัมพูชาจะรอเฝ้ารับเสด็จด้วยอัธยาศัยอันดียิ่ง ทำให้พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะตอบแทนน้ำใจไมตรีจิตของชาวกัมพูชา ด้วยการพระราชทานสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างยั่งยืนอันได้แก่ “การศึกษา” วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ตั้งอยู่ในอำเภอปราสาทซ็อมโบร์ จังหวัดกำปงธม ประเทศกัมพูชา โดยสมเด็จฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรี ได้สนองแนวพระราชดำริ น้อมเกล้า ฯ ถวายที่ดินบริเวณใจกลางประเทศจำนวน 45 ไร่ (ต่อมาได้ขยายเป็น 117 ไร่) เป็นพื้นที่ก่อสร้าง วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 โดยเปิดสอนทั้งสายสามัญ (เกรด 7 … Read more

โครงการจัดการน้ำอุปโภคบริโภคให้แก่โรงเรียน ตชด. บ้านเทพภูเงิน จ.อุดรธานี ตามพระราชดำริฯ

  โครงการจัดการน้ำอุปโภคบริโภคให้แก่โรงเรียน ตชด. บ้านเทพภูเงิน จ.อุดรธานี ตามพระราชดำริฯ    สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำรัสในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ ๒ /๒๕๖๑  เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ว่าโรงเรียน ตชด. บ้านเทพภูเงิน จ.อุดรธานี มีปัญหาเรื่องการปนเปื้อนยากำจัดศัตรูพืชจากสวนยางพารา ทำให้โรงเรียนจำเป็นต้องซื้อน้ำขวดรับประทาน มูลนิธิฯ ควรหาทางให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหา ศ.ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ จึงประสานหน่วยงานที่เกี่ยวของเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยที่ผ่านมามีการจัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งมีการติดตามตรวจเยี่ยมโรงเรียนเพื่อรับทราบปัญหาไปแล้วจำนวน ๗ ครั้ง   ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเทพภูเงิน จังหวัดอุดรธานี ข้อมูลทั่วไป • จำนวนครู นักเรียน ทั้งหมด ๖๕ คน • จำนวนชุมชนใกล้เคียงมี ๗๕ หลังคาเรือน ปัญหาของแหล่งน้ำ • น้ำฝน : ภาชนะเก็บน้ำฝนไม่เพียงพอ … Read more

หลักสูตรเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูตำรวจตระเวนชายแดน 4 หลักสูตร

หลักสูตรเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูตำรวจตระเวนชายแดน 4 หลักสูตร 1. ความเป็นพลเมืองดิจิทัล 1.1 บทที่ 1 คุณลักษณะเบื้องต้นของพลเมืองดิจิทัล1.2 บทที่ 2 พลเมืองดิจิทัลที่มีคุณลักษณะที่ดี1.3 บทที่ 3 กฎหมายและจริยธรรม1.4 บทที่ 4 กฎหมายลิขสิทธิ์1.4.1 บทที่ 4.1 กฎหมายลิขสิทธิ์ 1.4.2 บทที่ 4.2 ใช้ICTอย่างไรไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์1.5 บทที่ 5 การเข้าถึงดิจิทัล1.5.1 บทที่ 5.1 การเข้าถึงดิจิทัล1.5.2 บทที่ 5.2การซื้ออิเล็กทรอนิกส์และการขายของสินค้า1.6 บทที่ 6 ทรัพยากรสารสนเทศ 2. การรู้เท่าทันสื่อและการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์2.0 วีดิทัศน์แนะนำการเรียนรู้2.1 โมดูล 1 การรู้เท่าทันสื่อ2.1.1 การใช้สื่อดิจิทัลอย่างปลอดภัย2.1.2 การใช้สื่อโซเชี่ยลอย่างปลอดภัย2.1.3 การรับสื่อโฆษณาอย่างปลอดภัย2.1.4 การรู้เท่าทันสื่อลวงโลก…อย่างมีวิจารณญาณ2.1.5 การรู้เท่าทันสื่อกลั่นแกล้ง…อย่างมีวิจารณญาณ 2.2 โมดูล 2 กระบวนการผลิตสื่อดิจิทัลสร้างสรรค์2.2.1 ขั้นก่อนก่อนผลิตสื่อ2.2.1.1 โมชั่นกราฟิก Preproduction2.2.1.2 สื่อวีดิทัศน์ขั้น Preproduction2.2.2 … Read more

การอบรมครูในพื้นที่นำร่องโครงการ “ไอซีทีเพื่ออการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายชอบ เรื่อง การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล”

การอบรมครูในพื้นที่นำร่องโครงการ “ไอซีทีเพื่ออการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายชอบ เรื่อง การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล” หัวข้อการบรรยาย วันที่ 22 -25 มิถุนายน 2563 หัวข้อการบรรยาย : วันที่ 1 :  (Clip)วันที่ 2 : (Clip) วันที่ 3 :  (Clip) วันที่ 4 :  (Clip)

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดตาก

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดตาก    มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และสาขามีเดียอาตส์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เฝ้าทูลละอองพระบาทสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเลตองคุ และโรงเรียน ตชด.เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา (บ้านหม่องกั๊วะ) อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ระหว่างวันที่ ๒๑ – ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๓        สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดตาก ทรงทอดพระเนตรความก้าวหน้าของโครงการตามพระราชดำริ ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเลตองคุ และโรงเรียน ตชด.เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา (บ้านหม่องกั๊วะ) อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ระหว่างวันที่ ๒๑ – ๒๒ ธันวาคม … Read more

โครงการนำร่องการบริหารระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบ (ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา (กศน.), รร.ตชด., และสพฐ.) ในพื้นที่โครงการตามพระราชดำริ

ที่มาโครงการ Solar Cell ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนไทยภูเขา การพัฒนาระบบไอซีทีเพื่อการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนชุมชนในพื้นที่ห่างไกล การลดปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่อยู่ห่างไกลและทุรกันดารที่โครงสร้างพื้นฐานหลัก อาทิ ไฟฟ้าและโทรศัพท์ยังเข้าไปไม่ถึง เช่น พื้นที่ภูเขา หรือพื้นที่ป่า ยังคงเป็นโจทย์ใหญ่ของประเทศและยังนับเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตจะทำอย่างไรที่จะทำให้ประชากรในพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลสามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้อย่างเท่าเทียม โครงการนำร่องการบริหารระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบ(ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา (กศน.), รร.ตชด และสพฐ.) ความเป็นมา ด้วยสถานศึกษาและศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขาในพื้นที่โครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งตั้งอยู่ในเขตจังหวัดตาก เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน เป็นพื้นที่ห่างไกลและประสบปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าเพื่อใช้สำหรับการเรียนการสอน  ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (สสท.) ได้แจ้งความประสงค์ที่จะติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มายังสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งขณะนั้นได้ดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบสายการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ ในปีนั้น สวทช. จึงได้นำแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ผลิตจากต้นแบบสายการผลิตมาประยุกต์ใช้งา นให้เป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าแก่ศูนย์การเรียนรู้ในท้องถิ่นทุรกันดาร จำนวน ๓๖ แห่ง ในการดำเนินงาน สวทช. ได้ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ และสถาบันการศึกษาอีก ๗ หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (สสท.), สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.), สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.), สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.), สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมกันจัดทำ “โครงการนำร่องการบริหารระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในสถานศึกษาและศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาในพื้นที่โครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ระยะที่ ๑” ภายใต้บันทึกข้อตกลงฯ เป็นระยะเวลา ๓ ปี (ตั้งแต่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ถึง … Read more