TH  |  EN

โครงการนำร่องการบริหารระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบ (ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา (กศน.), รร.ตชด., และสพฐ.) ในพื้นที่โครงการตามพระราชดำริ

ที่มาโครงการ Solar Cell ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนไทยภูเขา การพัฒนาระบบไอซีทีเพื่อการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนชุมชนในพื้นที่ห่างไกล การลดปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่อยู่ห่างไกลและทุรกันดารที่โครงสร้างพื้นฐานหลัก อาทิ ไฟฟ้าและโทรศัพท์ยังเข้าไปไม่ถึง เช่น พื้นที่ภูเขา หรือพื้นที่ป่า ยังคงเป็นโจทย์ใหญ่ของประเทศและยังนับเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตจะทำอย่างไรที่จะทำให้ประชากรในพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลสามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้อย่างเท่าเทียม โครงการนำร่องการบริหารระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบ(ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา (กศน.), รร.ตชด และสพฐ.) ความเป็นมา ด้วยสถานศึกษาและศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขาในพื้นที่โครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งตั้งอยู่ในเขตจังหวัดตาก เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน เป็นพื้นที่ห่างไกลและประสบปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าเพื่อใช้สำหรับการเรียนการสอน  ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (สสท.) ได้แจ้งความประสงค์ที่จะติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มายังสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งขณะนั้นได้ดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบสายการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ ในปีนั้น สวทช. จึงได้นำแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ผลิตจากต้นแบบสายการผลิตมาประยุกต์ใช้งา นให้เป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าแก่ศูนย์การเรียนรู้ในท้องถิ่นทุรกันดาร จำนวน ๓๖ แห่ง ในการดำเนินงาน สวทช. ได้ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ และสถาบันการศึกษาอีก ๗ หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (สสท.), สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.), สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.), สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.), สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมกันจัดทำ “โครงการนำร่องการบริหารระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในสถานศึกษาและศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาในพื้นที่โครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ระยะที่ ๑” ภายใต้บันทึกข้อตกลงฯ เป็นระยะเวลา ๓ ปี (ตั้งแต่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ถึง … Read more

อบรมเชิงปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในกิจกรรม EZ-LED light kits ให้แก่นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

อบรมเชิงปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในกิจกรรม EZ-LED light kits ให้แก่นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์       เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) โดยดร.อัศวิน หงษ์สิงห์ทอง และทีมวิจัยเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ ให้ความรู้อบรมเชิงปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในกิจกรรม EZ-LED light kits ให้แก่นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จำนวน 20 ท่าน ผลงานที่ถ่ายทอดอบรมฯ นี้ เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสนองพระราชดำริฯ โครงการไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบในพื้นที่โครงการตามพระราชดำริฯ ภายใต้มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทีมวิจัยพยายามแก้ปัญหาชุมชนในถิ่นทุรกันดารที่ไม่มีไฟฟ้าและขาดแคลนไฟฟ้าส่องสว่างใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน โดยจะนำผลงานของนักเรียนไปมอบให้กับชาวบ้านเพื่อใช้งานจริงในกิจกรรมครัวเรือนต่อไป

นิทรรศการเผยแพร่ผลงานการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล19 มีนาคม 2565

นิทรรศการเผยแพร่ผลงานการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล19 มีนาคม 2565      เมื่อวันเสาร์ที่ 19 มีนาคม 2565 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา (บ้านหม่องกั๊วะ) อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา (บ้านหม่องกั๊วะ) ได้จัดงานนิทรรศการเผยแพร่ผลงานการพัฒนาศักยภาพครูและนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านการพัฒนาการศึกษา และการพัฒนาทักษะอาชีพด้านการตลาดดิจิทัล สำหรับชุมชนชายขอบ ภายใต้โครงการไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบ ประจำปี 2565 เพื่อนำเสนอผลงานด้านการประยุกต์ใช้ไอซีทีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนและช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษา การพัฒนาทักษะอาชีพด้านการตลาดดิจิทัล และการส่งเสริมศักยภาพชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเรื่อง “การผลิตไฟฟ้าส่องสว่างด้วย LED แบบพึ่งพาตนเอง” ของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โดยได้รับเกียรติจาก คุณกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. พันตำรวจเอก ศุภวัฒน์ ศรีชัยชนะ ผู้กำกับการกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญเลี้ยง แก้วนาพันธ์ ประธานสาขามีเดียอาต์ส … Read more

ลงพื้นที่เพื่อนิเทศติดตาม ความก้าวหน้า การพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพด้วยการประยุกต์ใช้ไอซีที เรื่อง: การออกแบบแบรนด์สินค้า การโฆษณา และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ณ โรงเรียน ตชด. เฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบพระชนมพรรษา

ลงพื้นที่เพื่อนิเทศติดตาม ความก้าวหน้า การพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพด้วยการประยุกต์ใช้ไอซีที เรื่อง: การออกแบบแบรนด์สินค้า การโฆษณา และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ณ โรงเรียน ตชด. เฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบพระชนมพรรษา      มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สาขามีเดียอาตส์ และมูลนิธิโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ร่วมกันลงพื้นที่เพื่อนิเทศติดตาม ความก้าวหน้า การพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพด้วยการประยุกต์ใช้ไอซีที เรื่อง: การออกแบบแบรนด์สินค้า การโฆษณา และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ณ โรงเรียน ตชด. เฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบพระชนมพรรษา (บ้านหม่องกั๊วะ อ.อุ้มผาง จ.ตาก) ภายใต้การดำเนินโครงการ ICT เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบในพื้นที่โครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างวันที่ 30 – 31 กรกฎาคม 2563 และจัดกิจกรรมเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน การสร้างคุณค่า การใช้ประโยชน์จากไผ่ และแนวทางการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช(ไผ่) บรรยายโดย นายโชคดี … Read more

การฝึกทักษะอาชีพโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

การฝึกทักษะอาชีพโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน    มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริษัทเอไอเอส และกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ร่วมกันดำเนินโครงการไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบ: การพัฒนาศักยภาพชุมชนและการบำรุงรักษาระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าและโทรมาตร” โดยได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะมีเดียอาร์ท ร่วมเป็นผู้ดำเนินงาน สนับสนุน ติดตามและวางแผนการจัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะชีวิตและการอาชีพ ด้านการออกแบบแบรนด์สินค้า การโฆษณา และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ พื้นที่นำร่อง : โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา บ้านหม่องกั๊วะ ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตากโดยเมื่อวันที่ 14-18 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ทางโครงการได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาทักษะชีวิตและการอาชีพ ด้านการออกแบบแบรนด์สินค้า การโฆษณา และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ พื้นที่นำร่อง : โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา บ้านหม่องกั๊วะ ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก โดยมีคณะครู นักเรียน และชุมชนเข้ารับการอบรมในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 31 คนFacebook  |  คลิก

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวทางการบริหารจัดการระบบไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบอย่างยั่งยืน (กรณีศึกษา ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคีรีล้อม)

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวทางการบริหารจัดการระบบไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบอย่างยั่งยืน (กรณีศึกษา ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคีรีล้อม)      ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคีรีล้อม) ในการประชุมสัมมนาครูใหญ่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนปี ๒๕๖๐ (ครั้งที่ ๓๗)ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นำทีมนักวิจัย และคณะทำงาน “โครงการนำร่องการบริหารระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบ” จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวทางการบริหารจัดการระบบไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบอย่างยั่งยืน (กรณีศึกษา ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคีรีล้อม) ในการประชุมสัมมนาครูใหญ่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนครั้งที่ ๓๗ ประจำปี ๒๕๖๐ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. ณ ห้องประชุมกรุงธนบอลรูม โรงแรมรอยัลริเวอร์ ถ. จรัญสนิทวงศ์ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยครูใหญ่โรงเรียน ตชด. ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน และผู้บังคับบัญชาในสายงานโรงเรียน ตชด. รวมทั้งสิ้น ๒๗๐ คน โดย “โครงการนำร่องการบริหารระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบ” ดำเนินงานบนพื้นฐานแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศระหว่างชุมชนเมืองและชุมชนชายขอบอย่างเป็นระบบ ไปพร้อม … Read more