TH  |  EN

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ ทรงร่วมงานประชุมสุดยอดนักวิทยาศาสตร์เยาวชนโลก 2023 (GYSS2023) ผ่านระบบออนไลน์

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ ทรงร่วมพิธีเปิดการประชุมสุดยอดนักวิทยาศาสตร์เยาวชนโลก 2023 (GYSS2023) ผ่านระบบออนไลน์ วันที่ 17 มกราคม 2566 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ออก ณ วังสระปทุม พระราชทานพระราชวโรกาสให้ ศาสตราจารย์ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นำคณะกรรมการโครงการประชุมสุดยอดนักวิทยาศาสตร์เยาวชนโลก หรือ Global Young Scientists Summit (GYSS) และผู้บริหารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช. เฝ้าทูลละอองพระบาท ทรงร่วมพิธีเปิดการประชุมสุดยอดนักวิทยาศาสตร์เยาวชนโลก 2023 (GYSS2023) ทางออนไลน์ ทรงฟังการบรรยายในพิธีเปิด โดย Prof. Didier Queloz (ศาสตราจารย์ ดิดีเยร์ เกโลช)นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ปี ค.ศ.2019 จากผลงานการพัฒนาทฤษฎี จักรวาลวิทยากายภาพ และการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ (Exoplanet) ซึ่งเปลี่ยนแปลงความเข้าใจของมนุษย์ เกี่ยวกับโลกและจักรวาลอย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้ทรงรับฟังงานเสวนาเรื่อง การปฏิวัติเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ (Revolutionary … Read more

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ ทรงร่วมงานประชุมสุดยอดนักวิทยาศาสตร์เยาวชนโลก 2023 (GYSS2023) ผ่านระบบออนไลน์

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ ทรงร่วมงานประชุมสุดยอดนักวิทยาศาสตร์เยาวชนโลก 2023 (GYSS2023) ผ่านระบบออนไลน์ วันที่ 19 มกราคม 2566 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯออก ณ วังสระปทุม พระราชทานพระราชวโรกาสให้ ศาสตราจารย์ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและรองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา และกรรมการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ เฝ้าทูลละอองพระบาท ทรงร่วมการประชุมสุดยอดนักวิทยาศาสตร์ เยาวชนโลก2023 หรือ GYSS2023 (อ่าน จีวายเอสเอส 2023) ทรงรับฟังการบรรยายเรื่อง Opening the Infrared Treasure Chest with the James Webb Space Telescope โดย ดร. จอห์น เมเทอร์ (Dr. John Mather) นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ปี … Read more

จากขั้วโลกใต้สู่ขั้วโลกเหนือ 2 นักวิจัยไทยร่วมเดินทางสู่อาร์กติก เตรียมดำน้ำเพื่องานวิจัยครั้งแรกของเอเชีย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจเรื่องการวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลก เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2559 เครดิตโดย https://king9.ohm.go.th link original : คลิก              สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจเรื่องการวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลก ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างหน่วยงานขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน กับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติของประเทศไทย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสร็จพระราชดำเนินทรงเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจเรื่องการวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลก ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างหน่วยงานขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน กับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติของประเทศไทย วันที่ 6 เมษายน 2559 ณ โรงแรม China World Hotel Beijing สาธารณรัฐประชาชนจีน อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : คลิก

จากขั้วโลกใต้สู่ขั้วโลกเหนือ 2 นักวิจัยไทยร่วมเดินทางสู่อาร์กติก เตรียมดำน้ำเพื่องานวิจัยครั้งแรกของเอเชีย

จากขั้วโลกใต้สู่ขั้วโลกเหนือ 2 นักวิจัยไทยร่วมเดินทางสู่อาร์กติก เตรียมดำน้ำเพื่องานวิจัยครั้งแรกของเอเชีย มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมด้วย สถานเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันจัดงานแถลงข่าว การสำรวจวิจัยขั้วโลกเหนือครั้งแรกของประเทศไทย โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี คุณเวการ์ด โหล์เมลีด รักษาการแทนเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา รองอธิการอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมงาน นอกจากนี้ยังมี รองศาสตราจารย์ ดร. วรณพ วิยกาญจน์ และ รองศาสตราจารย์ ดร. สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย … Read more

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชวโรกาสให้นำผู้บริหาร นักวิจัยที่จะเดินทางไปศึกษาวิจัยที่บริเวณในบริเวณขั้วโลกเหนือ และผู้สนับสนุน เข้าเฝ้าฯ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชวโรกาสให้นำผู้บริหาร นักวิจัยที่จะเดินทางไปศึกษาวิจัยที่บริเวณในบริเวณขั้วโลกเหนือ และผู้สนับสนุน เข้าเฝ้าฯ เครดิตโดย สำนักข่าวไทย original link : คลิก เมื่อ :วันที่ 17 กรกฎาคม 2561 สถานที่ : อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา จัดโดย : มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เวลา 15.20 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จลง ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต พระราชทานพระราชวโรกาสให้ ศาสตราจารย์ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะ นำนักวิจัยที่จะเดินทางไปศึกษาวิจัยและปฏิบัติงาน ในบริเวณทะเลชายฝั่งหมู่เกาะสวาลบาร์ดของมหาสมุทรอาร์กติก ราชอาณาจักรนอร์เวย์ เฝ้าทูลละอองพระบาท กราบถวายบังคมลา และรับพระราชทานธงชาติไทย กับธงประดับอักษรพระนามาภิไธย “สธ” สืบเนื่องจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชดำริให้นักวิทยาศาสตร์ไทยขยายความร่วมมือในการศึกษาวิจัยขั้วโลก จากเขตแอนตาร์กติก (ขั้วโลกใต้) เข้าสู่เขตอาร์กติก (ขั้วโลกเหนือ) … Read more

ชีวิตนักวิจัยไทยที่ขั้วโลกใต้ 2559

ชีวิตนักวิจัยไทยที่ขั้วโลกใต้ 2559      ปี 2558 ศาสตราจารย์ ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ อาจารย์จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และนายปฐพร เกื้อนุ้ย นิสิตปริญญาเอก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สองนักวิจัยจากประเทศไทย รูปที่ 1 ทีมนักวิจัยจากประเทศไทยถ่ายรูปบริเวณป้ายของสถานีวิจัยสาธารณรัฐประชาชนจีน รูปที่ 2 ทีมนักวิจัยจากประเทศไทย      ได้รับคัดเลือกให้ร่วมสำรวจขั้วโลกใต้กับทีมนักวิจัยขั้วโลกของสาธารณรัฐประชาชนจีน (Chinese Arctic and Antarctic Administration (CCA)) ณ สถานีวิจัยเกรทวอลล์ (Great Wall Station) ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะคิงจอร์จ (King George Island) บริเวณคาบสมุทรแอนตาร์กติก รูปที่ 3 รูปที่ 3 สถานีวิจัยเกรทวอลล์ (Great Wall Station)      เป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือนเริ่มตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม … Read more

ทำไมสนใจทำวิจัยที่ทวีปแอนตาร์กติก

ทำไมสนใจทำวิจัยที่ทวีปแอนตาร์กติก        นักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกต่างก็เดินทางไปทวีปแอนตาร์กติก เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ บรรยากาศ ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์ทางทะเล ธรณีวิทยา นิเวศวิทยา และอื่นๆ อีกมาก เนื่องจากทวีปแอนตาร์กติกเป็นทวีปที่อยู่ล้อมรอบขั้วโลกใต้ โดยพื้นที่เกือบทั้งหมดปกคลุมด้วยน้ำแข็งตลอดปี เป็นพื้นที่บนผิวโลกที่แยกจากทวีปอื่น ห่างไกล หนาวเย็น ปราศจากมนุษย์ที่อาศัยอย่างถาวรจึงมีสภาพแวดล้อมที่บริสุทธิ์     นักวิจัยไทยในโครงการวิจัยขั้วโลก รุ่นที่ 1 พ.ศ.2557     รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรฤทัย ภิญญาคง สองนักวิทยาศาสตร์ไทยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกแห่งจีนครั้งที่ 30 (CHINARE-30: 30th Chinese Antarctic Research Expedition) ทำการศึกษาวิจัย ณ สถานีวิจัยเกรทวอลล์ (Great Wall Station) ระหว่าง 1 มกราคม ถึง 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. … Read more

การสนับสนุนบุคคลไปศึกษาระดับปริญญโท-ปริญญาเอก ณ UCAS

การสนับสนุนบุคคลไปศึกษาระดับปริญญโท-ปริญญาเอก ณ UCAS        สำนักงาน ก.พ.ทำความร่วมมือกับ UCASที่จะสนับสนุนบุคคลไปศึกษาระดับปริญญาโท-ปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ UCASปัจจุบันมีผู้รับทุน รวมทั้งสิ้น 17 คน จบการศึกษาระดับปริญญาเอกกลับมาปฏิบัติงานในประเทศแล้ว 5 คน ดังนี้     ชื่อ: นายวราวุฒิ ศุภมิตรมงคล    สาขา : Management Science and Engineering (ด้าน Data mining)    สถาบัน : Research Center on Fictitious Economy and Data Science    สถานที่ทำงานปัจจุบัน: สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตำแหน่ง นักวิจัย     ชื่อ: นายฐนวรรธน์ นิยะโมสถ    … Read more

ภาคีความร่วมมือไทย-จูโน

ภาคีความร่วมมือไทย-จูโน      ภาคีความร่วมมือไทย-จูโน เป็นอีกหนึ่งโครงการที่รับสนองพระราชดำริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของชาติโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย      สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างทั้งสามสถาบันของไทยกับสถาบันฟิสิกส์พลังงานสูง (Institute of High Energy Physics) หรือ IHEP ในการทดลอง Jiangmen Underground Neutrino Observatory หรือ JUNO ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560 ณ IHEP กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน      สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทอดพระเนตรต้นแบบ photomultiplier tube ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 นิ้ว ที่ใช้ในการทดลอง JUNO      (จากซ้ายมาขวา) … Read more