TH  |  EN

ITER: International Fusion Energy Organization

ITER: International Fusion Energy Organization รูปที่ 1: ดวงอาทิตย์อาศัยพลังงานฟิวชัน      มนุษย์เราเฝ้ามองเห็นดวงอาทิตย์มาเป็นเวลาหลายหมื่นปี ความฝันของมนุษย์อย่างหนึ่งคือการสร้างดวงอาทิตย์บนโลกเพื่อเป็นแหล่งพลังงานที่ไม่สิ้นสุดของเรา แนวความคิดอันสุดแสนอัศจรรย์และท้าทายนี้สร้างแรงบันดาลใจให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจำนวนมากให้ทุ่มเทความรู้ความสามารถในการพัฒนาพลังงานที่ไม่สิ้นสุดนี้หรือที่เรียกอีกอย่างว่า “พลังงานฟิวชัน” มนุษย์ได้รู้จักและเรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานฟิวชันมาร่วม 1 ศตวรรษ มีการศึกษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในหลายมุมโลก ก่อให้เกิดการเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมนิวเคลียสอุณหภูมิสูงที่มากขึ้นเรื่อยๆและเข้าใกล้การพัฒนาไปสู่การใช้งานจริงมากขึ้นเรื่อยๆ ในหลักการนั้นพลังงานฟิวชันเกิดจากปฏิกิริยาการหลอมรวมนิวเคลียสหรือที่เรียกว่า “พลาสมา” โดยนิวเคลียสของธาตุขนาดเบารวมตัวกันเป็นนิวเคลียสของธาตุที่มีขนาดหนักขึ้น และในระหว่างทางจะมีการปลดปล่อยพลังงานจำนวมหาศาลออกมาด้วย โดยทั่วไปแล้วปฏิกิริยาฟิวชันจะปลดปล่อยพลังงานมากกว่าปฏิกิริยาเคมีทั่วไปหลายล้านเท่าเลยทีเดียว ตัวอย่างของการเกิดพลังงานฟิวชันในธรรมชาติ คือ การหลอมรวมของไฮโดรเจนในดวงอาทิตย์นั้นเอง ซึ่งพลังงานฟิวชันนี้ได้ขับเคลื่อนดวงอาทิตย์ให้ส่องสว่างและให้ความอบอุ่นกับโลกของเราและเหล่าดาวเคราะห์บริวารมานานหลายพันล้านปี จุดเด่นของพลังงานฟิวชันคือไม่มีการปล่อยก็าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศจึงถือว่าเป็นพลังงานสะอาดที่เหมาะสมกับธรรมชาติ และมีข้อดีอีกอย่างคือไม่มีกากกัมตรังสีหลงเหลือให้ต้องจัดการจึงมีความสะดวกและปลอดภัยสูง อีกทั้งเชื้อเพลิงก็มีอยู่เป็นจำนวนมากและสามารถหาได้ทั่วไปจากน้ำทะเล      การพัฒนาพลังงานฟิวชันเพื่อไปสู่โรงไฟฟ้าฟิวชันนั้นเกิดขึ้นตาม 4 ขั้นตอนได้แก่ ก.) การกำเนิดพลาสมา หรือ กระบวนการแปลงจากสถานะแก๊สสู่สถานะพลาสมา ซึ่งอาศัยกระบวนการแตกตัวของอะตอมไปเป็นไอออนของธาตุนั้นเอง ข.) การเพิ่มอุณหภูมิของพลาสมาให้สูงขึ้น กระทั่งได้รับพลังงานมากพอที่จะเอาชนะแรงผลักระหว่างนิวเคลียสของกันเองได้ ค.) กระบวนการหลอมรวมของนิวเคลียสให้กลายเป็นนิวเคลียสที่หนักกว่าเดิม และเป็นขั้นตอนที่เกิดการปลดปล่อยพลังงาน ง.) การแปลงพลังงานที่ได้ไปเป็นพลังงานไฟฟ้า สองขั้นตอนแรก จะต้องใช้พลังงานป้อนเข้าจากภายนอก ส่วนขั้นตอนที่สามจึงเป็นขั้นตอนการผลิตพลังงาน ดุลยภาพเชิงพลังงานเกิดเมื่อพลังงานที่ผลิตได้ (จากขั้นตอนที่สาม) เท่ากันกับพลังงานที่ต้องใช้ … Read more

ความร่วมมือของสถาบันวิจัย-สถาบันการศึกษาไทยกับ CAS

ความร่วมมือของสถาบันวิจัย-สถาบันการศึกษาไทยกับ CAS .      ในการสร้างความสัมพันธ์ไทยและจีน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีสถาบันวิจัย-สถาบันการศึกษาของไทยทำความร่วมมือกับสถาบันวิจัยของ CAS ในด้านการพัฒนาบุคลากร แลกเปลี่ยนนักวิจัย องค์ความรู้ ตลอดจนร่วมกันโครงการการวิจัยร่วมกัน       ตัวอย่างความร่วมมือโครงการวิจัย      โครงการระบบแปลภาษาอัตโนมัติระหว่างภาษาไทยและภาษาจีน เป็นโครงการระหว่างศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. และ Institute of Computing (ICT), CAS RADI-GISTDA      โครงการการใช้ประโยชน์จากข้อมูลดาวเทียมของฝ่ายจีนและไทย เป็นโครงการระหว่างสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และ Institute of Remote Sensing and Digital Earth (RADI) 

ประกาศขยายเวลารับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนการศึกษาไปศึกษาวิชา ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและการออกแบบแห่งสิงคโปร์ (Singapore University of Technology and Design : SUTD) สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประจำปีการศึกษา 2566 (ค.ศ. 2023) ระดับปริญญาเอก หลักสูตรภาษาอังกฤษ

ประกาศขยายเวลารับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนการศึกษาไปศึกษาวิชา ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและการออกแบบแห่งสิงคโปร์ (Singapore University of Technology and Design : SUTD) สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประจำปีการศึกษา 2566 (ค.ศ. 2023) ระดับปริญญาเอก หลักสูตรภาษาอังกฤษ  ตามที่มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีประกาศลงวันที่ 27 ธันวาคม 2565 เรื่อง รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนการศึกษาไปศึกษาวิชา ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและการออกแบบแห่งสิงคโปร์ (Singapore University of Technology and Design : SUTD) สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประจำปีการศึกษา 2566 (ค.ศ. 2023) ระดับปริญญาเอก หลักสูตรภาษาอังกฤษ จำนวน 3 ทุน มีรายละเอียดทุนและเงื่อนไขการศึกษาตามเอกสารแนบท้ายประกาศ และรับสมัครถึงวันที่ 17  กุมภาพันธ์ 2566 นั้น บัดนี้ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ ได้พิจารณาแล้ว เพื่อประโยชน์สูงสุดตาม วัตถุประสงค์ของมูลนิธิและมหาวิทยาลัย จึงเห็นควรให้ขยายเวลารับสมัครทุนดังกล่าวจนถึงวันที่ 1 มีนาคม 2566 … Read more

ความร่วมมือระหว่างสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (NIMT) และ ศูนย์เทคโนโลยีควอนตัม (CQT) ในการพัฒนานาฬิกาอะตอมเชิงแสง

หน่วยงานความร่วมมือ  ความร่วมมือระหว่างสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (NIMT) และ ศูนย์เทคโนโลยีควอนตัม (CQT) ในการพัฒนานาฬิกาอะตอมเชิงแสง ภาพในห้องปฏิบัติการนาฬิกาอะตอมของ CQT วัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นนิยามของหน่วยวินาทีในอนาคตของประเทศไทย รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีควอนตัม โดย NIMT ใช้ไอออนของธาตุอิธเธอเบียม (Yb+) และ CQT ใช้ไอออนของธาตุลูทิเทียม (Lu+) ประโยชน์และผลที่ประเทศไทยได้รับ    เป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดนิยามของหน่วยวินาที งานวิจัยไทยเป็นที่ยอมรับในเวทีนานาชาติ สร้างนักวิจัยและนักศึกษาไทยที่มีคุณภาพและมีศักยภาพในการทำงานวิจัยเทียบเคียงสถาบันวิจัยชั้นนำ ความถี่ที่ได้จากนาฬิกาอะตอมเชิงแสงจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญให้กับประเทศไทย นำไปใช้งานในด้านการสื่อสารโทรคมนาคม (5G network) ระบบการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Financial Technology) ระบบโครงข่ายพิกัดหมุดหลักฐานแห่งชาติ เป็นต้

โครงการพัฒนาระบบเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้นสำหรับปรับปรุงวัสดุและการวัลคาไนซ์ยางธรรมชาติ

โครงการพัฒนาระบบเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้นสำหรับปรับปรุงวัสดุและการวัลคาไนซ์ยางธรรมชาติ เป้าหมาย :      1. พัฒนาระบบเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น (Electron Linear Accelerator) จากระบบเครื่องเร่ง Medical Linac ให้ได้เครื่องที่ปรับค่าพลังงานอิเล็กตรอนได้ในช่วง 0.5 ถึง 4 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ และประยุกต์ใช้ลำอิเล็กตรอนสำหรับการวัลคาไนซ์น้ำยางธรรมชาติระดับห้องปฏิบัติการ (ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์ เช่น ถุงมือ จุกนมยาง สายสวนปัสสาวะ และแผ่นยางใช้ในทางทันตกรรม)2. สร้างความสามารถของประเทศในการสร้างระบบเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเพื่อใช้ประโยชน์ด้านการวิจัยและการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม หน่วยงาน :  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ สกอ., อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ สวทช. ผู้ดำเนินงาน : รศ.ดร.จิตรลดา ทองใบ, ผศ.ดร.สาคร ริมแจ่ม, ดร.จตุพร สายสุด, ผศ.ดร.ปิยรัตน์ นิมมานพิภักดิ์, ดร.ภาสรี เล้ากิจเจริญ, Mr. Michael Rhodes แผนงาน :      ปีที่ ๑ … Read more

ความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหน่วยวิจัย CMS

จากแนวพระราชดำริสู่ frontier research     จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเชียนที่มีความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัยกับ CERN ผ่านการทดลอง CMS มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือน CERN เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 พระองค์ทรงมีพระราชดำริและทรงเล็งเห็นว่าหากนักวิทยาศาสตร์ไทยได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับ CERN ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงชั้นนำของโลกก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2545 ดร.บุรินทร์ อัศวพิภพ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ได้เดินทางไป CERN และปรึกษาหารือแนวทางความร่วมมือกับการทดลอง CMS โดยการแนะนำของ Prof. John Elis, Prof. Diether Bleschschmidt จาก CERN และ Dr. Richard Breedon นักวิจัยจาก (MS โดยได้รับการสนับสนุนจาก NECTEC และได้ส่งนิสิต ป.โท จากจุฬาฯ … Read more

โครงการการประยุกต์ใช้เครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้นทางการเกษตร (Linear Application for Fruits Irradiation)

เนื้อหาโดย ดร.สุพัฒน์ กลิ่นเขียว สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)       การริเริ่มพัฒนาเครื่องเร่งอนุภาคเครื่องแรกนั้นเป็นการผลิตอนุภาคพลังงานสูงในการศึกษาโครงสร้างระดับอะตอมเท่านั้น นับจากนั้นมาจึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาคสำหรับงานวิจัยในหลายสาขาวิชาซึ่งก่อให้เกิดองค์ความรู้และการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ปัจจุบันเทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น หรือ Linear Accelerator ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น รวมทั้งในภาคการเกษตรและ อุตสาหกรรม       การประยุกต์ใช้เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้นในปัจจุบัน อาทิ          • การใช้เครื่องเร่งเพื่อการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของ color center ซึ่งเป็นการเกิดสีเนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของผลึก          • การใช้เครื่องเร่งเพื่อการปรับเปลี่ยนสมบัติทางเคมีของวัสดุ เช่น การปรับปรุงคุณภาพน้ำยางโดยการเหนี่ยวนำทำให้เกิดการเชื่อมขวาง (cross-link) ในสายใยพอลิเมอร์ที่อุณหภูมิห้อง การบำบัดน้ำเสีย และกากตะกอน          • การใช้เครื่องเร่งเพื่อการตรวจจับวัตถุในระบบการขนส่งและการปนเปื้อนของธาตุโลหะหนัก          • การใช้เครื่องเร่งเพื่อการปลอดเชื้อ ซึ่งในอุตสาหกรรมการปลอดเชื้อนั้น จะใช้ทั้งลำอิเล็กตรอนหลังจากการเร่งจากเครื่องเร่งโดยตรง เช่น การปลอดเชื้อสำหรับวัสดุทางการแพทย์ และการใช้รังสีเอกซ์ที่ผลิตจากลำอิเล็กตรอนชนเป้าโลหะหนัก … Read more

ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับ ALICE/CERN

ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับ ALICE/CERNเนื้อหาโดย : ผศ. ดร. ชิโนรัตน์ กอบเดช สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีดร.กฤษดา กิตติมานะพันธ์ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)ดร.วุฒินันท์ เจียมศักดิ์ศิริเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติดร. ขจรพงษ์ อัครจิตสกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี         อนุภาค และ ฟิสิกส์อนุภาค คือ อะไร     หลาย ๆ คน คงได้ยินข่าวเรื่อง ฝุ่น PM 2.5 มากันแล้วบ้าง  ตัวอักษร PM นั้น ย่อมาจากคำว่า Particulate Matters ซึ่งเป็นคำศัพท์มาตรฐานที่ใช้เรียก ฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยตัวเลข 2.5 นั้นมีหน่วยเป็น ไมครอนหรือไมโครเมตร  (10-6 เมตร) หรือ หากจะเปรียบเทียบก็คือ การที่เราแบ่งความยาว 1 เมตร ออกเป็นหนึ่งล้านส่วนเล็ก ๆ … Read more